‘เรื่องเหงา เรื่องใหญ่’ Britain Get Talking แคมเปญส่งเสียงถึงคนเหงาในอังกฤษ เฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพจิต

สำนักข่าว ITV ในประเทศอังกฤษจับมือกับครีเอทีฟเอเจนซี Uncommon ​ร่วมโปรโมทแคมเปญ Britain Get Talking เชิญชวนให้ส่งข้อความเสียงถึงคนรอบข้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนที่กำลังอยู่ในภาวะเหงา เนื่องจากความเหงาถือเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้คนตามมา

แคมเปญ “Britain Get Talking” โดย ITV และ Uncommon จึงต้องการสะท้อนผลกระทบของความเหงา​ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผ่านโฆษณาเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสียงถึงคนที่กำลังเหงา และคนที่เหงาก็สามารถเข้ามารับฟังความห่วงใยที่คนทั้งหลายส่งถึงคุณได้  ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Mental Health Awareness Week  ช่วงสัปดาห์แห่งการตระหนักถึงการดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิต ระหว่างวันที่ 9-15 พฤษภาคม 2565  เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพูดคุยกันของคนในครอบครัว หรือเพื่อนๆ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่การส่งข้อความเสียงถึงกันก็สามารถเป็นแรงซัพพอร์ตให้กับคนที่เรารักได้เช่นกัน

โดยในแคมเปญจะมีสองนักจัดรายการคนดังอย่าง Philip Schofield และ Laura Whitmore ที่จะคอยมาแชร์ความสำคัญของการเป็นที่พักพิงทางใจและการพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่อาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะเหงาผ่านข้อความเสียง เนื่องจาก คนที่กำลังเหงาหรือไม่สบายใจมักจะซ่อนความรู้สึกของตัวเองเอาไว้โดยไม่บอกให้ใครรู้ ขณะที่ข้อความห่วงใยและกำลังใจจากผู้คนจำนวนมาก สามารถเข้าถึงได้ผ่าน​การสแกน QR Code ที่ทางแคมเปญจะนำไปติดไว้ตามสถานที่ต่างๆ ที่เราต้องผ่านในแต่ละวัน อาทิ ​ประตูทางเข้าร้านคาเฟ่ ในแท็กซี่  ป้ายรถเมล์ หรือแม้แต่ในป้ายเครื่องดื่ม หรือจานรองแก้วในคาเฟ่ต่างๆ  เป็นต้น

โฆษณาชิ้นนี้จะเข้ามาช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในการมอบความห่วงใยและใส่ใจคนรอบข้าง แม้เพียงเวลาแค่เสี้ยววินาทีของคุณก็สามารถสร้างวันสดใสให้กับใครบางคนได้ หรือในบางครั้งอาจจะสามารถช่วยชีวิตบางชีวิตให้รอดพ้นจากอันตรายได้ด้วย

สำหรับ Britain Get Talking เป็นแคมเปญที่ต้องการระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในการสื่อสารกับคนรอบข้าง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2019 ในรายการ Britain’s Got Talent ซึ่งตั้งแต่เริ่มเปิดตัวจนถึงปัจจุบันมีการส่งเสียงสนทนาเพื่อให้กำลังใจกันมากกว่า 100 ล้านข้อความแล้ว  ขณะที่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของคนอังกฤษ​มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว

source

source

source

Stay Connected
Latest News