เช็กอาการ “อะเฟเซีย Aphasia” ร้ายแรงขนาดคนอึดถึกอย่าง “บรูซ วิลลิส” ยังต้องยอมแพ้

วงการฮอลลีวู้ดมีเรื่องให้ช็อกอีกแล้ว เมื่อบรูซ วิลลิส นักแสดงรุ่นใหญ่ของวงการ เจ้าของตำนาน “จอห์น แมกเคน” ในภาพยนตร์ Die Hart คนอึดถึกตายยาก ออกมาโพสต์ในโซเชียลประกาศอำลาวงการแสดง เนื่องจากกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ด้วยโรคภาวะอะเฟเซีย (Aphasia) ซึ่งจะส่งผลต่อกลไกการรับรู้ ด้วยผลของโรค บรูซได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า เขาจำเป็นต้องยุติบทบาทอาชีพนักแสดงซึ่งเป็นอาชีพที่มีความหมายต่อเขามาก

โรคภาวะอะเฟเซีย (Aphasia) คือโรคอะไร มันร้ายแรงขนาดไหนถึงทำให้นักแสดงมืออาชีพอย่างบรูซ วิลลิส ถึงกับต้องอำลาวงการที่เขารัก รวมถึงครอบครัวของวิลลิสยังเขียนเพิ่มเติมด้วยว่า “ หลังจากนี้ พวกเราต้องเจอเรื่องท้าทายอีกมากมาย และพวกเราได้รับรู้ถึงความรักและความหวังดีจากทุก ๆ คน” แสดงถึงภาวะของโรคนี้จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเขากับครอบครัวและคนรอบด้านอีกมากมาย

พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และผู้อำนวยการ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก (Arun Health Garden) ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน กายภาพบำบัด และดูแลสุขภาพแบบองค์รวม จะมาให้ความกระจ่างกับโรคภาวะอะเฟเซีย รวมทั้งใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

1โรคอะเฟเซีย Aphasia คืออะไร
“อะเฟเซีย” ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเสียความสามารถในการพูด หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด หรือมีความผิดปกติทั้ง 2 อย่าง

2 อาการของโรค
ภาวะอะเฟเซียแบ่งได้ง่ายๆเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 พูดได้ปกติหรือพูดคล่อง แต่ไม่เข้าใจในคำพูดของผู้อื่น คือบกพร่องที่การรับรู้ความเข้าใจ ประเภทที่ 2 คือ บกพร่องด้านการพูด คือ เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร แต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ตามปกติ เช่น เช่นนึกคำไม่ออก ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการได้ทั้ง 2 ประเภท

3ความรุนแรงของอะเฟเซีย
มีหลายระดับ ถ้าเป็นน้อยอาจจะแค่นึกคำบางคำไม่ออก แต่ถ้ามีอาการมากก็ไม่สามารถสื่อสารได้เลยเพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูดรวมถึงไม่สามารถพูดโต้ตอบได้

4กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะเฟเซีย
อะเฟเซียเป็นอาการที่เกิดเนื่องมาจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกในบริเวณของสมองที่ใช้ควบคุมการสื่อสารในการพูดซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนที่สมอง การติดเชื้อในสมอง เนื้องอกในสมอง มีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

5 จะรู้ได้อย่างไรว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้
เนื่องจากโรคอะเฟเซียมีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมอง ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติของสมองโดยเฉพาะเส้นเลือดตีบหรือแตก ก็มีโอกาสเป็นได้สูง รวมถึงอาการในข้อที่ 4 หรือไปพบแพทย์เพื่อทดสอบอาการ หรือให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การทำ CT Scan , การทำMRI เพื่อหาความผิดปกติของสมอง กล้ามเนื้อ ไขมัน เป็นต้น

6.วิธีสังเกตอาการ
ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร หรือผิดปกติด้านการพูด เช่น การนึกคำพูด การใช้คำพูด การเขียนหรือการอ่าน ให้รีบปรึกษาแพทย์

7.วิธีรักษา
7.1 ต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอะเฟเซีย ตามข้อ 4
7.2 สำหรับการรักษาอาการผู้ที่เป็นภาวะอะเฟเซียแล้ว จะมีการฟื้นฟูทางด้านการพูดและสื่อสาร โดยนักอรรถบำบัด หรือนักแก้ไขการพูด

8.สามารถป้องกันได้อย่างไร
อะเฟเซียเป็นเรื่องของภาวะบกพร่องทางสมอง ดังั้นวิธีป้องกันคือการดูแลสุขภาพสมองให้ดี โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะสร้างความเสียหายแก่สมองของเรา เช่น พฤติกรรมหรือโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือสมองเสื่อม ที่มาจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง , ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ,ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม