เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ต่างมาร่วมกันเปิดตัว “โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์ (SOLAR GENERATION)” สร้างการเรียนรู้และการจ้างงานจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นปีที่ 2 ของกองทุนแสงอาทิตย์ ที่เปิดรับเงินบริจาคผ่านกองทุนฯ เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้วิทยาลัยสายอาชีพ 7 แห่ง แห่งละ 10 กิโลวัตต์ทั่วประเทศ
ซึ่งวิทยาลัยเทคนิคสกลนครถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นวิทยาลัยแสงอาทิตย์แห่งที่ 3 ของประเทศ ที่เริ่มโครงการโซลาร์เจเนอเรชั่นนี้
บุญยืน ศิริธรรม กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์กล่าวว่า “ในช่วงปี2564 ที่ผ่านมา กองทุนแสงอาทิตย์ได้ชะลอการติดต้ังโซลารร์รูฟท็อปของวิทยาลัยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามการบริจาคของประชาชนยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้กองทุนแสงอาทิตย์สามารถระดมเงินทุนเพื่อเดินหน้าพลังงานงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของวิทยาลัยได้อย่างน้อย 5 แห่งจากเป้าหมายทั้งหมด 7 แห่ง นำร่องทั่วประเทศ ยอดบริจาคในปัจจุบันอยู่ที่ 706,582.19 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มี.ค. 2565) จากเป้าหมายรวม 1,600,000 บาท เพื่อดำเนินการติดตั้ง วิทยาลัยแสงอาทิตย์” (Solar Generation) ระบบโซลาร์รูฟท็อปที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์ โดยใช้เงินในการติดตั้งแห่งละ 400,000 บาท”
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นสถานศึกษาที่ผลิตนักเรียน นักศึกษาสายอาชีพราว 5,600 คน ในด้านวิชาชีพต้ังแต่ระดับ ปวช. ปวส. คือ กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาพาณิชยกรรม และระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ท้ังนี้ทางวิทยาลัยเทคนิคสกลนครมีการพัฒนาหลักสูตรการสอนเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์และการติดต้ังโซลาร์เซลล์ให้กับนักเรียนเช่นกัน การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์ในครั้งนี้คาดว่าจะช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับวิทยาลัยได้ไม่ต่ำว่า 60,000 บาทต่อปี หรือในระยะเวลามากกว่า 25 ปีทางวิทยาลัยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ราว 1,500,000 บาท ตลอดอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์
ด้านประดิษฐ์ญาณประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร กล่าวว่า “วิทยาลัยเทคนิคสกลนครมีนักเรียนจำนวนกว่าห้าพันคน ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียนพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี2562-2564 ส่งผลให้วิทยาลัยต้องแบกภาระค่าไฟฟ้าราวปีละ 4 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละราว 3 แสนกว่าบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าไฟฟ้าของกลุ่มวิชาอุตสาหกรรมที่มีการทดลอง คิดค้นและประดิษฐ์งานจริงตลอดหลักสูตร ทางวิทยาลัยขอขอบคุณประชาชนทุกคนที่ร่วมบริจาคเงิน ทำให้เราสามารถติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปได้ซึ่งจะลดภาระค่าไฟฟ้าของทางวิทยาลัย และสามารถนำเงินส่วนดังกล่าวมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนในวิทยาลัย”
และสิ่งสำคัญคือ การเริ่มต้นติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปในครั้งนี้เป็นการติดตั้งที่สถาบันการศึกษาแหง่ แรกของจังหวัดสกลนคร ซึ่งสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังเรียนและจะจบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียงมีโอกาสในการสร้างอาชีพจากการลงทุนหรือทำงานติดต้ังโซลาร์เซลล์อีกด้วย
ธีรพงศ์ แสงลาภเจริญกิจ ผู้ประสานงานการปฎิวัติเมืองยั่งยืน กรีนพีซ ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรเครือข่ายของกองทุนแสงอาทิตย์กล่าวว่า “การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการจ้างงานโซลาร์เซลล์ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพหรือเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ การลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและหันมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ถือเป็นการมีส่วนร่วมของทุกคนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และหยุดยั้งหายนะจากสภาพอากาศสุดขั้ว [7] พร้อมท้ังเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองซึ่งเป็น รากฐานของความยั่งยืนสา หรับอนาคตของพวกเราทุกคน”
แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนแสงอาทิตย์มีที่มาจากพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี ริเริ่มนำโซลาร์เซลล์มาใช้ในวัดเพื่อลดค่าใช้จ่าย และหยิบยกประเด็นเรื่องพลังงานทดแทนมาใช้ในการสอนนักเรียน จนกลายเป็นศูนย์อบรมโซลาร์เซลล์ให้แก่ประชาชนทั่วไปและเป็นต้นแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชนและวัดที่ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ ซึ่งแนวคิดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ห่างไกลได้ขยายผลไปสู่การจัดตั้งกองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund) ซึ่งเป็นความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งด้านผู้บริโภค ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2561 เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และผลักดันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปพลังงานและการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนให้ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงพลังงานสะอาดและมุ่งสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนต่อไป โดยได้ดำเนินการระดมทุนและเปิดรับบริจาคเพื่อนำไปจัดซื้อโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียน โรงพยาบาลทั่วประเทศ ชุมชน และสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นการผลักดันและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ช่วยลดรายจ่าย และเพิ่มรายรับให้แก่ประชาชนหากสามารถผลิตไฟฟ้าและจำหน่ายได้ในระยะต่อไป (ข้อมูลจากเว็บSolar Fund)
กองทุนแสงอาทิตย์เปิดรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วประเทศผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า ชื่อบัญชี“กองทุนแสงอาทิตย์โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เลขที่บัญชี429-017697-4 โดยมีช่องทางการรับบริจาคและรับหลักฐานการบริจาคเงินทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.thailandsolarfund.org