แค่ปรับไลฟ์สไตล์ ชีวิตก็ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์แล้ว

ตามสถิติที่สหรัฐอเมริกาพบว่า ทุก 65 วินาทีจะมีผู้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 1 คนและคาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์กว่า 40 ล้านคนและอาจเพิ่มเป็น 70 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า

ปัจจุบันคนไทยอายุเฉลี่ย 80 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เราจะอายุยืนกันไปทำไมถ้าคุณภาพชีวิตไม่ดีไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องของสมอง

ปัญหาของอัลไซเมอร์อาการหลักคือเรื่องของความจำเสื่อม ซึ่งบางทีหลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่สิ่งที่มากับอายุก็ได้ เพราะคนแก่บางคนที่อายุ 100 ปี ความจำก็ยังดีอยู่ ในทางกลับกันบางคนอายุยังไม่ถึง 60 ปีเลยเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำแล้วหรือที่เรียกกันว่าหลงลืม คนไข้ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องความจำเสื่อมมักจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคนี้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันถือเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา และยังเชื่อว่าอัลไซเมอร์เมื่อเป็นแล้วมีแต่จะประคับประคองด้วยยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคเท่านั้น

แพทย์หญิง ปิยะนุช รักพาณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และผู้อำนวยการ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก (Arun Health Garden) ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน กายภาพบำบัด และดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นหนึ่งในคุณหมอ 2 คนแรกในประเทศไทยที่เป็น Registered Physician อย่างเป็นทางการของคลินิก Apollo Health ของ Dr.Dale Bredesen แพทย์ระบบประสาท มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ทำการวิจัยและรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์แนวใหม่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาDr.Dale ได้ทำการวิจัยและรักษาแนวใหม่ให้แก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 10 ราย พบว่าเกือบทุกรายอาการดีขึ้น และที่น่ามหัศจรรย์คือบางคนนั้นหายจากโรคนี้และกลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ซึ่งถือเป็นครั้งของวงการแพทย์ที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายได้

แพทย์หญิง ปิยะนุช รักพาณิชย์ กล่าวเสริมว่าก่อนหน้านั้นเราเชื่อว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมในสมองหรือการมีโปรตีนที่ผิดปกติบางตัวไปเกาะในเซลล์สมองซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ Dr.Dale มีความคิดที่ต่างจากทฤษฎีเดิมออกไป โดยเชื่อว่าอัลไซเมอร์นั้นเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งแต่ละคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์เกิดจากสาเหตุแตกต่างกันออกไป ดังนั้นป้องกันและการรักษาโรคนี้จึงต้องรักษาแบบ Multi Factorial คือแพทย์ต้องตรวจว่าปัญหาของคนไข้แต่ละเกิดจากปัจจัยอะไร ซึ่งจากการวิจัยของ Dr.Dale พบข้อสรุปอาจจะมีมากถึง 36 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยแต่ละคนก็มีปัญหาแตกต่างกัน การรักษาจึงต้องเป็นแบบเฉพาะบุคคล

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ทั้ง 36 อย่างนั้น จะต้องใช้การตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการจากการตรวจเลือก ตรวจปัสสาวะ หรือการเอ็กซเรย์ แต่โดยสรุปแล้ว Dr.Dale ให้ความเห็นว่าอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ที่ผิด ๆ ดังนั้นการป้องกันและรักษาเบื้องต้นคือการปรับการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง และต้องทำให้สมองไม่เสื่อมไปตามวัย การปรับล์สไตล์ให้ห่างไกลอัลไซเมอร์จะต้องทำอย่างไรบ้าง

แพทย์หญิงปิยยะนุช รักพาณิชย์ ให้ข้อแนะนำให้ห่างไกลอัลไซเมอร์ เพียงแค่ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิต 8 ข้อ ดังนี้

1.ลดน้ำตาลและแป้ง มีการค้นพบว่าน้ำตาและคาร์โบไฮเดรทเชิงเดี่ยวมีผลต่อฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย ฮอรฺโมนอินสุลินนี้ทำหน้าที่นำน้ำตาลไปใช้ การบริโภคน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรทเชิงเดี่ยวมากเกินไป มีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้เมื่ออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่สิ่งที่เกิดกับร่างกายคือมีของเสียเพิ่มขึ้นในร่างกาย มีผลกระทบให้เกิดการอักเสบและต่อเนื่องมาถึงสมองได้

2 ทำ Fasting การมีสุขอนามัยที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อและ 5 หมู่ แต่บางครั้งควรมีช่วงท้องว่างจากการรับประทานอาหารคือ Fasting อย่างน้อย 12 ชม.ในช่วงเวลากลางคืน และรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อนนอน 3 ชม. ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบฮอร์โมนอินซูลินใน ร่างกาย นอกจากี้ยังพบว่าการทำ Fasting และการไม่รับประทาอาหารก่อนนอน 3 ชม.มีส่วนลดการสะสมโปรตีน บีต้า แอมีลอยด์ ( Beta-Amyloid)ของสมอง ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่ผิดปกติของสมองที่พบในคนที่เป็นอัลไซเมอร์ลงได้ และยังเป็นการช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและกำจัดเซลล์ที่ไม่ดีของร่างกายหรือ Autophagy

3 การออกกำลังกาย ข้อดีการออกกำลังกายเป็นตัวช่วยกระตุ้นการเชื่อมต่อของการทำงานเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี แนะนำให้ทำอย่างน้อยวันละ30-60 นาที สัปดาห์ละ 4-6 วัน ทั้งนี้ ควรเลือกประเภทการออกกำลังกายที่ตัวเองชอบและทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความสำคัญคือต้องออกกำลังกายต่อเนื่องให้เป็นนิสัย สำหรับชนิดของการออกกำลังกายควรเลือกให้จนมีการเต้นเพิ่มขึ้นของจังหวะหัวใจ

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เรียกว่า “ 7 munites” หรือการออกกำลังกา ย 7 นาที โดยเป็น 7 นาทีของการออกกำลังกายแบบ High Intensity Interval Training และหยุดพักเป็นช่วง ๆ พบว่าจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์สมองสื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น

คุณหมอแนะว่าหลักการออกกำลังกายที่จะให้มีผลถึงสมองนั้น ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายแบบสลับกันระหว่าง High Intensity Interval Trainingคือการออกกำลังกายสั้น ๆในวันแรก ส่วนวันต่อมาอาจเลือกออกกำลังกายแบบยาวๆ 30 -60 นาที เช่น เต้นแอโรบิคแบบยาว ๆ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกายดีขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้นและยังช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้มีการทำงานและเชื่อมต่อสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น

4 นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6- 8 ชม. รวมถึงคุณภาพของการนอนหลับที่ต้องหลับสนิท ส่วนใครที่มีปัญหาในด้านการนอนก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้หาย

5. ลดความเครียด เวลาเครียดร่างกายจะหลังหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มมากขึ้น และถ้าเป็นนาน ๆ หรือเรื้อรัง จะมีผลกระทบต่อการทำลายเซลล์สมองได้ ควรหาวิธีลดความเครียดในแบบที่ตัวเองชอบก็ได้ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่าหนังสือ ฯลฯ.

6 ฝึกสมอง เซลสมองก็เหมือนกันเซลล์อื่น ๆ ที่ต้องมีการออกลังกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและทำให้เกิดความว่องไว เราควรมีการฝึกเกมส์กระตุ้นสมอง หรือการฝึกสมองในด้านที่ตัวเองไม่ถนัด ก็เป็นการฝึกการกระตุ้นสมองให้เกิดการสื่อสารดียิ่งขึ้น สมองที่เสื่อมไปก่อน คือสมองในส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เพราะฉะนั้นการฝึกสมองโดยการเล่นเกมส์ประเภทฝึกสมองซึ่งปัจจุบันมีแอปเกมฝึกสมองมากมายให้เลือกโหลดมาเล่นในมือถือ หรืออาจจะทำกิจกรรมใหม่ที่ไม่คุ้นหรือไม่ชอบ เช่นฝึกใช้มือข้างซ้ายที่ไม่ถนัด ฝึกคิดเลขบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้กระตุ้นสมองหรือการทำฟังก์ชั่นอะไรต่าง ๆ ควรทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบ

7 การฝึกสมาธิ มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า การฝึกสมาธิเป็นประจำจะช่วยให้สมองหลั่งสารที่กระตุ้นการพัฒนาของเซล์สมองและระบบประสาทเพิ่มมากขึ้น การฝึกสมาธิมีหลายแบบ ลองดูว่าวิธีไหนเหมาะสมกับตัวเรา

8 เติมในส่วนที่ขาด คุณหมอเดลล์ค้นพบปัจจัย 36 ข้อที่เป็นตัวเกี่ยวเนื่องกับการทำให้เกิดเป็นอัลไซเมอร์ พบว่ามีวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายอย่างที่ช่วยรักษาหรือป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจหาว่ามีความผิดปกติตรงไหนบ้าง เช่นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) หรือตรวจระดับโลหะหนักที่อาจเป็นสารพิษสะสมในร่างกาย หรือบางคนอาจขาดวิตามินหรือเกลือแร่ที่บำรุงเซลล์สมอง หรือการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง เช่นวิตามินบี 6 บี 9 บี 12 วิตามินดี วิตามินอี วิตามินK 2 โคเอมไซนคิวเทน ซึ่งค่าพวกนี้สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ทางห้องปฏิบัติการและถ้าหากขาดวิตามินชนิดใด ก็ให้ซื้อมารับประทาน
นอกจากนี้ยังมีสารหลาย ๆ อย่างที่ช่วยลดภาวการณ์อักเสบของเซลล์สมองหรือทำให้เซลล์สอมงทำงานดีขึ้น เช่นสารสกัดจากขมิ้น สารสกัดจากองุ่น หรือไขมัน DHA ไขมันMedium-chain Triglyceride oil หรือ MCT oil

การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุได้อย่างมีคุณภาพนั้น สมองเป็นเรื่องสำคัญ และการดูแลสมองให้ดีจะต้องดูแลตั้งแต่เริ่มต้นอย่ารอให้มีปัญหาก่อนค่อยมารักษา

สามารถเข้ารับคำปรึกษาและประเมินความเสี่ยงและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ได้ที่ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ในบรรยากาศที่ร่มรื่นเขียวขจีของต้นไม้ ภายในหมู่บ้านธารารมณ์ หรือผ่านช่องทาง LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA โทร.02-717-4441 หรือ 094-812-7722 และที่ www.arunhealthgarden.com

Stay Connected
Latest News