ส่อง 5 เทรนด์ด้านความยั่งยืนปี 2022

ไม่ว่าปีนี้หรือปีต่อ ๆ ไป “ภาวะโลกร้อน” ก็ยังคงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศต่าง ๆ ในโลก จึงถือเป็นประเด็นร้อนและเร่งด่วนที่จะต้องเข้ามาควบคุมและสกัดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

ด้วยเหตุนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้นำประเทศจากทั่วโลกต่างขึ้นเวที COP26 ในเมือง Glasglow เพื่อให้คำสัญญาที่จะแก้ปัญหาโลกร้อนโดยการวางเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และการดำเนินงานต่างๆที่สอดคล้องกับความยั่งยืน

และในปีหน้าจะยังคงเป็นปีที่หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ดังนั้น เราลองมาดูกันว่า 5 เทรนด์ด้านความยั่งยืนในปี 2022 มีอะไรกันบ้าง

1.ความยั่งยืนในการแข่งขัน

ปัจจุบันนี้ความยั่งยืนได้กลายเป็นเกราะเสริมที่ช่วยบริษัทต่างๆในการสร้างค่าความนิยมเพราะผู้บริโภคคำนึงถึงความยั่งยืนในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากความยั่งยืนยังคงเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆจึงยังต้องให้ความสำคัญกับประเด็นความยั่งยืน รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อรักษาลูกค้าและเสริมสร้างการภักดีต่อแบรนด์

2. ความยั่งยืนที่เข้าถึงได้

ความยั่งยืนจะกลายเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึงได้ในปีที่กำลังจะถึงนี้ เนื่องด้วยการพัฒนานวัตกรรมต่างๆและการแข่งขันที่ดุเดือด การประหยัดจากขนาดหรือความได้เปรียบด้านต้นทุนมีส่วนทำให้พลังงานหมุนเวียนมีราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งยังสามารถทำซ้ำๆเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อย่างไรก็ดี สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่เพียงแต่มีบทบาทอย่างมากในแง่ของการปล่อยคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานด้านความยั่งยืนนั่นเอง

 

3. การรวมศูนย์ข้อมูล

ข้อมูลจะเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ จากการแข่งขันด้านความยั่งยืนที่ดุเดือดส่งผลให้บริษัทต่างๆมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้มข้นขึ้น นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูล ESG หรือ เป้าหมายการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน การวิเคราะห์ข้อมูลและผลกระทบต่างๆจะมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกลงทุนของผู้บริโภค และบริษัทจะยังคงมีความรับผิดชอบไม่เพียงแค่ต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้นแต่จะรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วย

จากผลการศึกษาชิ้นใหม่ พบว่า คนประมาณ 70% รับรู้ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศในช่วงเวลาปัจจุบันมากกว่าช่วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และคน ประมาณ 40% วางแผนที่จะนำพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนมาใช้ให้มากขึ้น หรืออาจได้กล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า นักลงทุน หรือคนหางาน ต่างก็กำลังมองไปยังความพยายามด้านความยั่งยืนของธุรกิจต่างๆว่ามีมากน้อยแค่ไหนก่อนที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง

4. การชดเชยคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น

การชดเชยคาร์บอนคือการทดแทนหรือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูงจะลงทุนทำโครงการที่ป้องกันหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ซึ่งโครงการเหล่านี้จะมีตั้งแต่การปลูกต้นไม้ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดักจับการปล่อยก๊าซคาร์บอน

จากความต้องการในด้านการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สภาพเศรษฐกิจแย่ลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อมรณะ COVID-19 ส่งผลให้บริษัทที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับสูงจะยังคงขยายตัวต่อไป ขณะเดียวกัน ก็จะถูกกดดันให้เจาะตลาดการชดเชยคาร์บอนเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณต่ำจะใช้รับประโยชน์จากความต้องการดังกล่าวในการขยายตัว และ/หรือดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

5. ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

คนรุ่นใหม่มีความกังวลกับปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น โดยคนรุ่นต่อๆไปในอนาคตจะกลายเป็นประชากรที่มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มขึ้นในทุกหมวดหมู่ตั้งแต่สินค้าอาหารไปจนถึงสินค้าไลฟ์สไตล์

 

credit : thecsrjournal.in/sustainability-trends/

Stay Connected
Latest News