K-Briq อิฐยั่งยืน โซลูชันของคนรักษ์โลกผลิตจากขยะก่อสร้าง

การก่อสร้างและการรื้อถอนอาคารเป็นอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดขยะที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยรวม ทำให้หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างตั้งแต่บริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างไปจนถึงบริษัทก่อสร้างและรื้อถอนต้องคิดหาโซลูชันใหม่ๆเพื่อลดปริมาณขยะจากการก่อสร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน


Kenoteq บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสก็อตแลนด์ปิ้งไอเดียในการนำขยะจากการก่อสร้าง 90% กลับมาผลิตเป็นอิฐก่อสร้างที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ด้านความยั่งยืน ชื่อว่า K-Briq โดยกระบวนการผลิตนั้นไม่ได้ผ่านการเผาไหม้แต่อย่างใด

แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทำวิจัยของศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม นามว่า Gabriela Medero แห่ง Edinburgh’s Heriot-Watt University ที่ศึกษาและพัฒนาอิฐดังกล่าวซึ่งใช้เวลาศึกษาวิจัยกว่า 10 ปี โดยมีแรงผลักดันเพื่อต้องการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ กระบวนการผลิตอิฐ K-Briq ยังปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 1 ใน 10 ของการผลิตอิฐก่อสร้างทั่วไป

ศาสตราจารย์ Medero กล่าวว่า หน้าตาของอิฐ K-Briq ก็เหมือนๆกับอิฐทั่วไป ทั้งน้ำหนักและการใช้งานก็ไม่ได้ต่างจากอิฐที่ผลิตจากดินเหนียว แต่ข้อดีของ K-Briq คือมีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดีกว่า และสามารถผลิตได้หลากหลายสี ทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี Kenoteq มีแผนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป และในปีนี้ K-Briq จะถูกนำไปใช้ในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม Serpentine Pavilion ที่ Hyde Park ออกแบบโดย Counterspace ซึ่งเป็นบริษัทสถาปัตยกรรมจากแอฟริกาใต้

Credit: www.dezeen.com/2020/03/02/kenoteq-k-briq-brick-construction-waste/?li_source=LI&li_medium=bottom_block_1

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม