‘ขวดนี้ไม่ใช้…เราขอนะ’ เอสแอนด์พีแปลงขวดพลาสติกเป็นเสื้อพนักงานกว่า 7,000 ตัว

เมื่อปี 2562 เอส แอนด์ พี ประกาศนโยบายสู่องค์กรเพื่อความยั่งยืน และเพื่อให้บรรจุเป้าหมายดังกล่าว โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม“ ขวดนี้ไม่ใช้…เราขอนะ” จึงถูกนำมาใช้เพื่อรวบรวมขวดพลาสติก PET ที่ไม่ใช้แล้วมาUpcycling เป็นเสื้อพนักงาน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 7,000ตัว

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจอย่างมุ่งมั่น ใส่ใจ ด้วยความคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายเพื่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ล่าสุดได้ผุดโครงการด้านสิ่งแวดล้อม “โครงการขวดนี้ไม่ใช้…เราขอนะ” รวบรวมขวดพลาสติกใส มาแปลงเป็นเสื้อพนักงานS&P ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรที่ไม่ใช้แล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังตั้งเป้าส่งต่อเรื่องราวดีๆ สู่สังคมด้วย

มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร

มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เผยถึงโครงการขวดนี้ไม่ใช้ เราขอนะ ว่า “เอส แอนด์ พี ดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยการนำขวดพลาสติกใส (PET) ที่ไม่ใช้แล้ว จากการตั้งกล่องรับบริจาค 10 จุด ทั้งสำนักงาน โรงงาน และหน้าร้านS&P ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม2563 เพื่อนำขวดส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล นำไปคัดแยก ทำความสะอาด และบีบอัดเป็นเม็ดพลาสติก นำไปแปลงเป็นเสื้อพนักงานS&P จำนวน 7,000 ตัว โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อรณรงค์ส่งเสริมพนักงานและลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้านS&P ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม รู้จักคัดแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อนำกลับมาแปรรูปเป็นของชิ้นใหม่ นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ ตลอดจนช่วยลดขยะให้เป็นศูนย์ นอกจากจะช่วยโลกแล้ว ยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่พนักงานของเราด้วย

บริษัทฯ ยังมีแผนดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ารับบริจาคขวดพลาสติกเพื่อส่งต่อเรื่องราวดีๆนี้ไปยังชุมชนและสังคม ด้วยการอัพไซคลิ่ง (Upcycling) เป็นผ้ากันเปื้อน หมวกเชฟ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ สำหรับโครงการ S&P Kitchen for Kids ต่อไป”

นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ ยังมีโครงการถุงสีเขียว (Green Bag) ร่วมกับ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด ผู้ก่อตั้งโครงการวน ที่นำถุงพลาสติกหูหิ้วที่ไม่ใช้แล้วจากหน้าร้านจำนวนกว่า 9,000 กิโลกรัม เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นถุงใบใหม่ที่มีความหนา 50 ไมครอน เหมาะแก่การนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อนำมาใช้ในการจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วย

Stay Connected
Latest News