เมื่อโลกหยุดความเคลื่อนไหวเพราะโควิด ก็ได้เวลาสัตว์น้ำกลับมามีความสุข

การจำกัดการเดินทางที่ทำให้เราต้องกักตัวอยู่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากจะเป็นการหยุดการแพร่เชื้อโรคแล้ว ยังส่งผลดีต่อคุณภาพอากาศในหลายพื้นที่ และความสงบของท้องถนนที่เป็นตัวกระตุ้นให้สัตว์น้อยใหญ่อยากออกมาวิ่งเล่นนอกเขตป่า เช่นเดียวกัน ท้องทะเลเมื่อการสัญจรของเรือลดลงทำให้สัตว์น้ำใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น

นักวิจัยกล่าวว่าเสียงรบกวนที่ลดลงส่งผลที่ดีต่อการมีปฏิสัมพันธ์ของสัตว์น้ำและเป็นการลดระดับความเครียดของสัตว์อีกด้วย โดย Andrew Trites ผู้อำนวยการแผนกวิจัยสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมแห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ให้ความเห็นว่า “มลพิษทางเสียงที่ลดน้อยลงนั้นเป็นโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นและสิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือการที่วาฬและสัตว์น้ำที่ใช้เสียง (Acoustic animals) ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขขึ้น”

“พวกมันค่อนข้างอ่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ต้องใช้เสียงในการหาอาหารและการสื่อสาร” Trites กล่าวกับ CTV News

David Barclay นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล จาก Dalhousie University

David Barclay นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล จาก Dalhousie University ได้สังเกตอัตราเสียงที่ลดลงในพื้นที่ทะเลฝั่งตะวันตกของ Vancouver Island และ Georgia Strait โดยกล่าวว่า “ท้องทะเลค่อนข้างเงียบขึ้น มลพิษทางเสียงลดลงตั้งแต่เดือนที่แล้ว ซึ่งลดลงประมาณ 4 เดซิเบล หรือลดลงประมาณ50% เลยทีเดียว” โดยที่การศึกษาของเขาในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน The Narwhal ซึ่งเป็นวารสารสัญชาติแคนาดาที่บอกเล่าเรื่องราวธรรมชาติในประเทศแคนาดา

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในลักษณะเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนักวิจัยพบว่า การสัญจรทางทะเลที่ลดลงส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดของวาฬไรต์ในแอตแลนติกเหนือลดลงอย่างน่าเหลือเชื่อ


สัตว์น้ำที่ใช้เสียงจะอ่อนไหวต่อเสียงรบกวนเนื่องจากพวกมันจะใช้เสียงความถี่ต่ำในการสื่อสาร แต่หากถูกรบกวนด้วยเสียงอื่นๆที่มีความถี่ต่ำหรือสูงจะทำให้การสื่อสารและการป้องกันตัวของพวกมันค่อนข้างที่จะยากลำบาก ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์อย่าง Valeria Vergara ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Canada’s endangered Saint Lawrence Belugas จึงหวังว่าการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นอีกวิธีการใหม่ที่จะลดมลพิษทางเสียงและช่วยเหลือสัตว์น้ำที่เสี่ยงอันตรายได้ โดยเธอกล่าวว่า “เหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำนวนของพวกมันลดลงหรือล้มเหลวต่อการฟื้นฟูก็คือเสียงรบกวนนั่นเอง”

credit : www.ctvnews.ca/sci-tech/how-the-covid-19-pandemic-could-be-helping-sea-life-1.4932946

Stay Connected
Latest News