หน้ากากเซลลูโลส ปลอดภัยจากโควิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 หน้ากากนับเป็นสิ่งที่มีค่าและหายากมากที่สุด เนื่องจากความต้องการที่พุ่งสูงขึ้น จนทำให้นักออกแบบหลายๆคนได้ออกมาผลิต Face shield หรือหน้ากาก DIY แต่การออกแบบเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบ

 

ด้วยเหตุนี้ Elizabeth Bridge และ Garrett Benisch นักออกแบบแห่ง Sum Studio ได้ปิ๊งไอเดียในการผลิตหน้ากากเซลลูโลสจุลินทรีย์ (Microbial cellulose) เพื่อให้การลงทุนในการผลิตอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง (PPE) มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากทั้งสองเป็นนักออกแบบชีวภาพจึงเน้นการหาวัสดุผลิตหน้ากากที่หาได้ตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการกรองเป็นหลัก โดยพวกเขาได้ตัดสินใจเพาะหน้ากากเซลลูโลสจุลินทรีย์ในครัวของตัวเองระหว่างที่กักตัวอยู่ที่บ้าน ขณะเดียวกันก็พยายามหาวิธีให้หน้ากากนี้มีคุณสมบัติการใช้งานให้คล้ายกับวัสดุผ้าที่ใช้ผลิตหน้ากาก N95 ที่กำลังขาดตลาด


เซลลูโลสแบคทีเรียถูกผลิตขึ้นมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Xylinum Acetobactor พบได้บนพื้นผิวของเหลว และสามารถเพาะได้โดยการให้น้ำ ชา น้ำตาล ในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเป็นอาหารให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเติบโตได้ เมื่อแบคทีเรียเติบโตและมีจำนวนเพิ่มขึ้น มันก็จะถักทอเส้นใยเซลลูโลสให้เป็นเหยื่อหุ้มเซลเดี่ยว (Single membrane) ซึ่งสามารถเก็บขึ้นมาตากให้แห้งเพื่อนำไปเป็นวัสดุในการผลิตต่อไป แม้ว่าคุณสมบัติภายนอกที่เราเห็นจะโปร่งแสงและเรียบเนียน แต่ภาพจากล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นถึงความแน่นหนาของการถักทอเส้นใยเซลลูโลสอย่างน่าเหลือเชื่อ

เมื่อวัสดุที่จะนำมาผลิตหน้ากากมีความหนาเพียงพอแล้ว ให้นำขึ้นมาตากให้แห้งเป็นแผ่นเรียบ โดยแผ่นเซลลูโลสดังกล่าวมีคุณสมบัติยืดหยุ่น แข็งแรง กันน้ำและน้ำมันได้ ที่สำคัญยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอีกด้วย โดยกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการผลิตที่ยาวนานมากแต่ก็คุ้มค่าต่อต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คุณสมบัติในการกรองอากาศของหน้ากากเซลลูโลสยังสามารถเทียบเคียงได้กับกระบวนการกรองของหน้ากาก N95 เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การกผลิตหน้ากากเซลลูโลสจุลินทรีย์นับเป็นความตั้งใจของ 2 นักออกแบบที่พยายามสร้างสรรค์หน้ากากทางเลือกเพื่อให้เราปลอดภัยจากเชื้อโควิด แถมยังเป็นโซลูชันที่ยั่งยืนและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Credit:www.designboom.com/design

 

Stay Connected
Latest News