S&P พาสมาชิก S&P Joy Card เช็คอิน “พิพิธภัณฑ์ชุมชนที่มีชีวิต” ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ภาพกราฟฟิตตี้ “พญานาค” เกือบ 200 ตนที่มีอิริยาบถแตกต่างกันไปใน อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ กลายเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพวาดและพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่มีชีวิต

 

ทุก ๆ ปี เอส แอนด์ พี จะจัดกิจกรรม S&P Family Trip เพื่อพาสมาชิก S&P Joy Cardไปสัมผัสการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำหรับปีนี้พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตที่ จ.บึงกาฬ เป็นหมุดหมายปลายทางเพื่อต้องการให้สมาชิกได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวอีสาน โดยมีสมาชิกที่พาครอบครัวไปในทริปนี้กว่า 20 ชีวิต

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ตั้งอยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย จ.บึงกาฬ โดย ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดังซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้ให้การต้อนรับชาว S&Pอย่างอบอุ่นด้วย welcome drink แบบบ้าน ๆ คือน้ำสมุนไพรเย็น ๆ กับข้าวต้มมัดหวานมัน จากนั้นขาบได้เล่าถึงความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ฯว่า

 

มณีสุดา ศิลาอ่อนและขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ

“ ผมมีความตั้งใจที่จะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดและทำให้หมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงนำเรือนไทยอีสานดั้งเดิมที่มีอายุราว 60 ปีของครอบครัวมาสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมของครอบครัวคนอีสานในอดีต ผ่านข้าวของเครื่องใช้ที่จัดแสดงและยังสามารถใช้ได้จริง”

จากนั้นจึงเข้าสู่ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตแก่เหล่าสมาชิกS&P Joy Card ซึ่งมีการผูกข้อมือโดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านพร้อมกับให้ศีลให้พรแก่ผู้มาเยือน


อาหารมื้อกลางวันที่พิพิธภัณฑ์เตรียมไว้สำหรับสมาชิก S&P Joy Card เป็นอาหารพื้นบ้านของคนอีสานที่จัดมาเป็นขันโตกโดยมีข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ ใส่กระติ๊บพร้อมด้วยกับข้าวที่ทำจากพืชผักในท้องถิ่น อาทิ น้ำพริกผักจิ้ม แกงอ่อม ปลาแห้งทอด ส้มตำ ลาบ ฯลฯ. แม้จะดูเป็นอาหารที่แปลกตาแต่ทุกคนก็กินอย่างเอร็ดอร่อยและได้เรียนรู้วิถีชุมชนคนบ้านโซ่พิสัยผ่านอาหารมื้อนี้


อิ่มท้องกันแล้วก็เข้าสู่กิจกรรมเดินชมบ้านเก่าที่ถูกแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเพราะยังเป็นบ้านที่มีคนอาศัยอยู่ตามปกติ โดยขาบได้รักษาสภาพเดิมของบ้านไว้ และเพิ่มเติมงานดีไซน์เข้าไปเพื่อให้เห็นวิถีชีวิตแบบบ้าน ๆ ที่ผสมกลมกลืนระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องครัว หรือห้องพระ ฯลฯ.

ขาบเล่าว่าใช้เวลา 2 ปีในการทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อที่มีชีวิตแห่งนี้ จากนั้นก็เริ่มขยายออกไปยังชุมชน โดยการนำเรื่องของศิลปะร่วมสมัยมาทำเรื่องราวผ่านกราฟฟิตี้รูป “พญานาค” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของบึงกาฬมาทำหน้าที่เป็นสื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในชุมชนในแต่ละบ้าน ในหมู่บ้านนี้มี 45 ครัวเรือน สำรวจสำมะโนประชากรพญานาคมีเกือบ 200 ตน กระจายไปทั่วหมู่บ้าน ทั้งโรงพัก ห้องน้ำ เมรุเผาศพ

ปัจจุบันภาพกราฟฟิตี้กลายเป็นจุดขายที่เหล่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะต้องค้นหาและตามไปถ่ายรูป รวมถึงสมาชิก S&P Joy Card ที่สนุกสนานกับการถ่ายรูปคู่กับพญานาคในอิริยาบถต่าง ๆ อย่างเพลิดเพลิน


นอกจาก S&P จะจัดให้สมาชิกได้มาสัมผัสกับวิถีชุมชนคนอีสานบึงกาฬแล้ว ยังพาไปทำบุญไหว้พระและนำสิ่งของเครื่องใช้รวมทั้งขนมไปแจกเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้าน เพื่อสอนให้เด็ก ๆ รู้จักแบ่งปันสิ่งของให้กับสังคม ปิดท้ายทริปนี้ด้วยการเดินตลาดชุมชนที่ขาบได้ชักชวนชาวบ้านให้นำผลผลิตทางการเกษตร อาหารพื้นถิ่น และเครื่องจักรสานที่มีดีไซน์มาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนสร้างความยั่งยืน


มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคื จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวสรุปถึงความตั้งใจที่พาสมาชิก S&P Joy Card ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่า “รู้สึกดีใจที่มีโอกาสได้พาครอบครัวสมาชิก S&P Joy Card มาเปิดประสบการณ์ใหม่ เชื่อว่าสมาชิกทุกท่านจะสัมผัสได้ถึงคุณค่าของการท่องเที่ยวชุมชนที่มีเรื่องราวของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดของคนในชุมชน นอกจากสมาชิกจะได้ซึมซับวัฒนธรรมและเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวอีสานแล้ว ยังได้สนับสนุนสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์โอทอปจากชุมชนด้วย เอส แอนด์ พีภูมิใจที่ได้เป็นส่วหนึ่งของการสนับสนุนชุมชนต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะดำเนธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

Stay Connected
Latest News