ปิดฉากการประชุมสุดยอดอาเซี่ยน ครั้งที่ 35 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 3-4 พ.ย.2562 ภายใต้แนวคิดหลัก “ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ( Advancing Partnership for Sustainability ) ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งสุดท้ายของปี ภายใต้การดำรงตำแหน่งอาเซี่ยนของไทย
โดยสาระของการประชุมได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือร่วมใจสานต่อผลลัพธ์จากการประชุมสุดยอดอาเชี่ยน ครั้งที่ 34 และวางแผนร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากความเป็นแกนกลาง และจุดเด่นของภูมิภาคอาเซี่ยนที่เป็นมิตรกับทุกประเทศ เพื่อรับมือแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาคและระดับโลก และสร้างยั่งยืนในทุกมิติ
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ และการรักษาสภาพแวดล้อมควบคู่กัน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาขยะทะเล ปัญหามลพิษทางอากาศด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงอาเซี่ยนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และปัญหาประมง IUU ด้วยการพัฒนาเครือข่ายอาเซี่ยน เพื่อแก้ไขปัญหาประมงIUUทั้งหมด ต้องพึ่งพาความร่วมมือกับหุ้นส่วนอาเซี่ยนและมิตรประเทศ
พบอาเบะถกปัญหาการจัดการขยะทางทะเล
ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีโอกาสพบหารือกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่อาเซียนและญี่ปุ่นบรรลุการเจรจาถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ว่าด้วยความเชื่อมโยง พร้อมหวังว่าอาเซียนจะได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นภายใต้ ASEAN Outlook on Indo-Pacific โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การเข้าถึงบริการทางการเงิน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการจัดการขยะทะเล
นอกจากนี้ นายอาเบะ นายกรัฐมนตรีขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการส่งเสริมความเชื่อมโยง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งชื่นชมญี่ปุ่นในฐานะประธาน G20 ในการจัดทำเอกสารผลลัพธ์สำคัญต่างๆ ของการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง G20 Principles on Quality Infrastructure Investment ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง เพื่อสอดประสานข้อริเริ่มด้านความเชื่อมโยงทั้งระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค
อาเซี่ยน+3 เพื่อความยั่งยืน
สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22 ซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น โดยจัดขึ้นเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวกสาม โดยเน้นแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนของไทย และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกัน
โดยนายกรัฐมนตรีเสนอแนวทางส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวกสาม 2 ประการ คือ
1 ความเชื่อมโยงในภูมิภาค ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยง ในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย-แปซิฟิกมาโดยตลอด ซึ่งการส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง ต่าง ๆ ของภูมิภาคจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เป็นกลไกที่สำคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
2 ความยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งไทยในฐานะผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนขอให้ประเทศบวกสามสนับสนุนความมุ่งมั่นของอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้ง “ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “ศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม” ที่จัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทย
คณะคู่สมรสแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องจัดการขยะ
ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซี่ยน ครั้งนี้ คณะคู่สมรสผู้นำที่ร่วมเดินทางมาประชุมด้วย ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง “การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการขยะ” (Sharing Best Practices on Waste Management)
โดย รศ.นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการเสวนาย้ำว่า การบริโภคอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการขยะถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 มีบริษัทภาคเอกชนรายใหญ่ 43 บริษัท ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อ จะหยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของไทย โดยภริยานายกรัฐมนตรีกล่าวขอให้ทุกคน บริโภคแต่น้อย อนุรักษ์ให้มาก และกล้าที่จะกระตุ้นให้ผู้อื่นเริ่มลงมือ
ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศให้การบริหารจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยนำหลักการ 3Rs มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการ เพื่อมุ่งพัฒนาภูมิภาคอาเซียนไปสู่ภูมิภาคแห่งการผลิตและบริโภคผลิตอย่างยั่งยืน มีการบริหารจัดการของเสียอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ และส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-economy, Circular Economy and Green Economy : BCG Model)
จากนั้น ผู้เข้าร่วมเสวนาในฐานะตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เด็กหญิงระริน สถิตธนาสาร กลุ่มบริษัท SCG และ PTTCG ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และการดำเนินการในการบริหารจัดการขยะในมิติต่างๆ ทั้ง ภาครัฐ เอกชน องค์กร และชุมชน
จากนั้น ในตอนท้ายคู่สมรสต่างแสดงความเห็นอย่างหลากหลายในประเด็นปัญหาเรื่องขยะ ที่เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศและในประเทศทุกระดับ การแก้ปัญหาจึงต้องร่วมมือกัน และนำประสบการณ์ของแต่ละประเทศไปศึกษา เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป
ต้นแบบการประชุม Green Meeting
แม้การประชุมครั้งนี้จะปิดฉากลงแล้ว แต่ถือว่าการบริหารจัดการประชุมระดับประเทศครั้งนี้จะเป็นต้นแบบการประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง มีผู้เข้าร่วมการประชุมไม่ต่ำกว่า 4 พันคน ไทยในฐานะเจ้าภาพตั้งใจจัดขึ้นในคอนเซปต์ “การประชุมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” หรือ Green Meeting เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด เรื่อง “ความยั่งยืน” ในธีมหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” เพื่อให้ตระหนักถึง การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการชูแนวคิด “3R” คือ Reduce การลดการใช้, Reuse การใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งประเทศไทยต้องการขับเคลื่อน “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงเกิดแนวคิดการสร้างสรรค์การประชุมอาเซี่ยนออกมาในรูปแบบ Green Meeting
สำหรับแนวคิดการจัดการประชุมแบบกรีน แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ 1.จัดเตรียมสถานที่ประชุมที่เดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ 2.ลดการใช้เอกสารทุกขั้นตอน (Green Document) 3.ออกแบบตกแต่งเวทีสถานที่และนิทรรศการด้วยวัสดุที่สามารถใช้ซ้ำและประหยัดพลังงาน อาทิ แผ่นไวนิลที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์การประชุมอาเซี่ยนตลอดทั้งปีนี้ บริษัทแมคโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น MQDC ได้นำไปใช้กระบวนการ upcycling ออกแบบออกมาเป็นกระเป๋าเอกสารและกระเป๋าสะพาย 4.จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้เพียงพอไม่เหลือทิ้ง Food Waste และ เลือกอาหารท้องถิ่นที่ไม่เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ (Green Catering) 5.คำนวณค่าคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน แล้วชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้แทน (Carbon Footprint)
ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึก และ จุดประกายให้ผู้ร่วมงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทางรัฐาลได้จัดเตรียมของที่ระลึกที่ได้จัดเตรียมไว้แด่ผู้นำและผู้แทนระดับสูงของแต่ละประเทศ พร้อมคู่สมรสใช้สวมใส่ร่วมงานเลี้ยงนั้น โดยสุภาพบุรุษจะได้รับผ้าพันคอ 1 ผืน พร้อมเนกไท 1 เส้น ซึ่งเนกไทมีลวดลาย 2 แบบให้เลือกตามความชอบ สุภาพสตรีได้รับผ้าคลุมไหล่คนละ 1 ผืน โดยมีลวดลาย 2 แบบให้เลือกเช่นกัน ซึ่งทั้งผ้าพันคอ เนกไท และผ้าคลุมไหล่ดังกล่าวผลิตจากเส้นไหมที่ผสมเส้นใยซึ่งผลิตจากวัสดุจากขยะพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ โดย
ของขวัญของชำร่วยที่จัดเตรียมให้กับ ผู้นำ คู่สมรสผู้นำ โดยเฉพาะ เนกไท ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ก็ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ซี่งได้จากขยะพลาสติกในท้องทะเล ผ่านกระบวนการ upcycling ให้เป็นเส้นใยเพื่อนำกลับมาทอผสมกับเส้นไหม โดยเนคไท 1 เส้นขวดพลาสติก 2 ใบ ส่วนผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอ ใช้ขวดพลาสติก จำนวน 68 ใบ เป็นต้น
ข้อมูล www.matichon.co.th/news-monitor/news_1738035
www.posttoday.com/politic/news/605145 www.thaigov.go.th/gallery/contents/index/11554 tna.mcot.net/view/ZNE0nWU
ภาพ : www.thaigov.go.th/