เมื่อถนนสายพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

เมื่อปี 2016 ฝรั่งเศสได้ผุดไอเดียสร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสายแรกของโลกในโครงการ Wattway โดยมีแนวความคิดว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากถนนที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องลงทุนทำโครงสร้างใหม่ขึ้นมา ในวันเปิดถนนสายนี้ ซาโกลีน รัวยาล รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมฯได้เดินย่ำบนถนนสายนี้อย่างภาคภูมิใจ

การเปิดตัวถนนพลังงานแสงอาทิตย์สายนี้คาดหวังว่าสามารถผลิตพลังงานเพื่อใช้ในชุมชนสายแรกของโลกครอบคลุมพื้นที่ 2,800 ตารางเมตร ในเมือง Tourouvre-au-Perche แคว้นนอร์มังดี แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ทดลองใช้งาน ถนนสายนี้กลับผลิตพลังงานต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความล้มเหลวอันใหญ่หลวง

ตามรายงานของ Le Monde พบว่าขณะนี้ถนนสายนี้อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ไม่คุ้มค่าแก่การซ่อมแซม โดยแผงรับแสงอาทิตย์หลุดร่อนไม่ติดแน่นกับพื้นถนนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ถนนสายนี้ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 790 กิโลวัตต์ต่อวันซึ่งเป็นปริมาณพลังงานที่สามารถจ่ายให้กับประชาชนจำนวน 3,000-5,000 ครัวเรือน แต่กลับผลิตได้เพียง 50% เท่านั้น ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือการผลิตพลังงานในปีที่สองกลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญและมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ต้นปี 2019 แถมให้อีกข้อคือส่งเสียงดังอีกด้วยจึงเป็นเหตุให้มีการจำกัดความเร็วของการเดินรถต่ำกว่า 70 กิโลเมตร

 

 

ขณะที่ถนนพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯที่มีราคาสูงถึง 6.1 ล้านเหรียญก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน คือแผงรับแสงอาทิตย์ไม่อยู่ในองศาที่เหมาะสมต่อการรับพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงปริมาณรถยนต์ที่ปกคลุมถนนในช่วงแดดจ้า ทั้งนี้ความเสียหายกว่า 75% ของแผงรับแสงอาทิตย์ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานทั้งสิ้น Daily Caller ได้รายงานว่า ถนนสายนี้ผลิตพลังงานได้เพียงน้อยนิดและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงกับน้ำพุขนาดเล็กและดวงไฟในห้องน้ำเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ถนนพลังงานแสงอาหารที่เนเธอร์แลนด์กลับประสบความสำเร็จเกินคาดกว่า 2 ถนนแรก ทั้งนี้สำนักข่าว Press Reader รายงานว่า เนเธอร์แลนด์สร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์ ชื่อ ถนนไบค์เลนความยาว 70 เมตร โดยในปี 2018 สามารถผลิตพลังงานในปีแรกได้ถึง 73 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตรต่อปี และในปีที่สองผลิตได้ 93 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตรต่อปี นับเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 50-70 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตรต่อปี

และในปีนี้เนเธอร์แลนด์ได้เปิดใช้งานถนนยางมะตอยที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนพื้นผิวซึ่งเป็นเลนรถบัสใน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ความยาว 50 เมตรใกล้กับสนามบิน Amsterdam-Schiphol และ ระยะที่ 2 ความยาว 100 เมตร ห่างเมือง Rotterdam เพียงไม่กี่กิโลเมตร

credit:www.businessinsider.com/worlds-first-solar-road-turned-out-colossal-failure-2019-8

Stay Connected
Latest News