อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนโลกนี้เท่านั้น แต่ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจภาพรวมของโลก
โดย The International Labour Organization หรือ ILO กล่าวว่าภาวะโลกร้อนจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 คิดเป็นเงิน 2.4 ล้านล้านเหรียญหรือประมาณ 260 ล้านล้านเยน และยังเตือนอีกว่าภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมจะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังได้กำชับให้แต่ละประเทศโฟกัสไปยังความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากความร้อน และประเมินสถานการณ์รอบด้านอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องแรงงาน
จากการวิจัยของ ILO พบว่า หากอุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อความสามารถต่อกลุ่มแรงงานซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง ที่แย่ไปกว่านั้นคือแรงงานอาจเสียชีวิตจากภาวะโรคลมแดด (Heatstroke) และอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานได้หากอุณหภูมิร่างกายเกิน 39 องศาเซลเซียส
ตามข้อตกลงปารีส (The Paris Agreement) ว่าด้วยเรื่องกรอบมาตรการเพื่อรับมือภาวะโลกร้อนซึ่งจะมีผลในปี 2020 ได้ตั้งเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นให้น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดย ILO ประเมินว่า เมื่อปี 1995 ความร้อนเป็นสาเหตุให้สูญเสียจำนวนชั่วโมงทำงานโดยรวม 1.4% คิดเป็นเงิน 2.8 แสนล้านเหรียญ หรือราว 30 ล้านล้านเยน ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการรับมือหลายอย่างเพื่อจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียสหลังจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 21
แต่อุณหภูมิอุณหภูมิก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 1.3 องศาเซลเซียสในปี 2030 ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทั่วโลกสูญเสียชั่วโมงการทำงานไป 2.2% หรือคิดเป็นค่าเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นเงิน 2.4 ล้านล้านเหรียญ ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงที่เกิดจากภาวะโลกร้อนนั้นขึ้นอยู่กับภูมิภาคของแต่ประเทศ โดยประเทศแถบเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันตกจะได้ผลกระทบอย่างหนัก เป็นต้น
ด้วยความกังวลถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อการเกษตรอาจก่อให้เกิดปัญหาความยากจนและวิกฤตขาดแคลนอาหารเลวร้ายยิ่งขึ้น ทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศจึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้มีการนำเครื่องจักรเพื่อการเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การวางแผนที่ดีเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากภาวะโลกร้อนอาจก่อให้เกิดการขาดแคลนอาหารและความยากจน ทาง ILO จึงได้เน้นย้ำถึงความต้องการในการดำเนินการผลิตเครื่องจักรสำหรับการเกษตรเพื่อเพิ่มการผลิตและเฝ้าสังเกตระดับอุณหภูมิในที่ทำงาน
ทั้งนี้ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอาจเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ ดังนั้น เรามาช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมที่จะช่วยไม่ให้ภาวะโลกร้อนแย่ไปกว่านี้กันเถอะ
credit : mainichi.jp/english/articles/20190703/p2a/00m/0in/023000c