คอมซูเมอร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก จับมือเปลี่ยน mindset บรรจุภัณฑ์สู่เป้าหมาย zero waste

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์กหรือปารีส คุณอาจมีโอกาสซื้อไอศกรีมหรือแชมพูที่ใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยหลังจากที่คุณกินไอศกรีมเสร็จแทนที่คุณจะทิ้งบรรจุภัณฑ์ลงในถังขยะเหมือนเดิม คุณก็สามารถทิ้งลงในถังขยะรียูสแทน จากนั้นจะมีคนมารับบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับไปทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่นั่นเอง

 

 

นี่คือแนวคิดใหม่หรือแพลตฟอร์มของ Loop เพื่อสู่เป้าหมายการปลอดขยะ zero awste โดยร่วมมือกับหลายบริษัทที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ที่จับมือกันเพื่อเปิดโครงการนำร่องดังกล่าวในปีนี้ โดย Tom Szaky ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง TerraCycle ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการรีไซเคิลวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล กล่าวว่า

“ทุกวันนี้เราใช้การรีไซเคิลมาช่วยแก้วิกฤตเรื่องขยะ แต่ยังไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ ” เขาเสริมว่า “แต่สิ่งที่เราทำในวันนี้เป็นการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลกเรา แม้จะมีการเก็บรวบรวมขยะเหล่านั้นซึ่งส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์ของ Unilever, Procter & Gamble และอื่นๆ แต่ขยะพลาสติกในทะเลก็ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนั่นเป็นเหตุผลให้ Loop ปิ้งไอเดีย เพราะต้นเหตุของปัญหาขยะไม่ใช่ขยะพลาสติกแต่เป็นปริมาณของสิ่งที่ทิ้งต่างหาก จึงเป็นภารกิจของ Loop ที่พยายามจะลดให้ได้มากที่สุด”

 

 

TerraCycle เป็นบริษัทรีไซเคิลที่ทำงานกับยักษ์ใหญ่อย่าง Procter&Gamble, Nestle, PepsiCo, Unilever และอื่นๆอีกมากมายในการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ โดยบรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นได้รับการออกแบบเพื่อการใช้งานซ้ำ ๆ ได้ โดยผลิตภัณฑ์จะจำหน่ายผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของ Loop เช่น เมื่อคุณสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายหรือน้ำยาบ้วนปากผ่านเว็บไซต์ ขั้นตอนแรกคุณจะต้องจ่ายมัดจำค่าบรรจุภัณฑ์ โดยสินค้าที่สั่งซื้อจะถูกรวบรวมใน Tote ที่ได้รับการออกแบบพิเศษโดยวิศวกรของ UPS เพื่อการใช้งานซ้ำแทนกล่องกระดาษ และเมื่อคุณใช้สินค้านั้นจนหมดแล้วสามารถรวบรวมขวดเปล่าใน Tote แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ Loop เพื่อแจ้งให้มารับขวดเปล่ากลับไป

ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากนัก รวมถึงไม่ต้องจ่ายแพงด้วย

หลายๆองค์กรพยายามรับมือกับปัญหาขยะผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดเติมหรือร้านขายของชำปลอดขยะ แต่เมื่อวิธีการเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดก็ต้องหาวิธีการใหม่ที่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น Loop จึงมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสะดวกเหมือนการทิ้งขยะลงในถัง นอกจากค่ามัดจำที่ลูกค้าจะได้รับคืนหลังจากคืนบรรจุภัณฑ์แล้ว ราคาสินค้าก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าอาจต้องชำระค่าส่งสินค้าไป-กลัเอง หรือสินค้าบางอย่างอาจจัดส่งได้ฟรี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักสินค้าที่สั่งซื้อนั่นเอง

 

 

บริษัท UPS ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งสินค้าซึ่งได้เข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในโครงการนำร่องนี้กล่าวว่าแนวคิดนี้เหมาะกับระบบการดำเนินการที่มีอยู่เดิม โดยรถส่งของจะออกไปส่งสินค้าเต็มคันรถตามเส้นทางเฉพาะและจะกลับมาด้วยบรรจุภัณฑ์เปล่าที่เต็มคันรถด้วยเช่นกัน กระบวนการนี้จะทำให้ลูกค้าได้บรรจุภัณฑ์ใหม่เข้ามาหมุนเวียนอันเดิมที่ส่งคืนไป ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนไปจะถูกนำไปเข้าสูกระบวนการทำความสะอาดแล้วส่งกลับไปโรงงานเพื่อเติมผลิตภัณฑ์ลงไปแล้วนำกลับไปให้ลูกค้าอีกครั้ง แม้การขนส่งลักษณะนี้จะก่อให้เกิด carbon footprint แต่เมื่อ TerraCycle ได้คำนวณผลกระทบโดยรวมของบรรจุภัณฑ์แล้วพบว่าวิธีการดังกล่าวมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีการเดิมๆ 50-75% เลยทีเดียว

โดยผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ควรคำนึงถึงเรื่องการออกแบบที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคเมื่อวางอยู่บนชั้นวางสินค้าใช้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่กันการผลิตสิน้าใหม่จากโรงงานนั้น กลับไม่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ใส่ไอศกรีม haagen-Dazs ที่สามารถเก็บความเย็นได้นานหลายชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ยังนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน เช่น หลอดยาสีฟันนับเป็นสิ่งที่ยากต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ ทางบริษัท Unilever จึงได้ออกแบบยาสีฟันชนิดเม็ดที่สามารถเคี้ยวได้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง และในทางกลับกัน สินค้าบางอย่างก็ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เช่นกัน เช่น ผ้าอ้อมซึ่งมาส่วนที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เป็นต้น

 

 

ทั้งนี้ รูปแบบการนำร่องที่กล่าวข้างต้นจะเริ่มมีการทดสอบระบบในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนี้เพื่อทดสอบว่าสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งได้แก่ ความทนทานของบรรจุภัณฑ์ ผลกระทบต่อการดำเนินการผลิต การขนส่ง และที่สำคัญคือผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าซ้ำผ่านช่องทางนี้หรือไม่ หากว่าระบบนำร่องนี้มีผลตอบรับที่ดี ก็จะทำให้แพลตฟอร์มดังกล่าวอาจจะกลายเป็นระบบหลักที่มีคนเข้ามาใช้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม หลายแบรนด์รับรู้ว่าบรรจุภัณฑ์ของตัวเองจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง และหลายแบรนด์ได้ให้สัตยาบรรณที่จะใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารียูส, รีไซเคิล หรือย่อยสลายได้ โดย 8 ใน 10 บริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่สร้างวิกฤติขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่สุดของโลกก็ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Loop เหลือเพียงอีก2 ยักษ์ใหญ่ซึ่งอยู่ในช่วงการเจรจา

“เราอยู่ในภาวะวิกฤติอย่างไร้จุดหมาย และแบรนด์เองก็กำลังหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อยุติวิกฤตินี้อยู่” Szaky กล่าว

Credit : https://www.fastcompany.com/90296956/a-coalition-of-giant-brands-is-about-to-change-how-we-shop-forever-with-a-new-zero-waste-platform

Stay Connected
Latest News