ปี 2019 จับตาดู 7 เทรนด์อาหารที่ยั่งยืนก้าวสู่ “ยุคปีทอง”

อุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่งจะเริ่มได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ แต่กลับเป็นกลุ่มที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะผลจากความต้องการของผู้บริโภคทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเติบโตมากกว่า 5% ในสหรัฐฯ และคาดว่าปีนี้ยอดขายอาหารที่เกี่ยวกับความยั่งยืนก็คงจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่างจากปีที่ผ่านมากเท่าไหร่นัก

ตามรายงานของ Ecovia Intelligence ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสำรวจและเป็นที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมสินค้าออร์แกนิค ได้คาดการณ์ว่าในปี 2019 จะเป็นปีที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมความยั่งยืนดังนี้

 

 

**เทรนด์อาหารออร์แกนิคจะเติบโตขึ้น**
ปัจจุบันมีการกระจายสินค้าออร์แกนิค ไปสู่ร้านค้าปลีกตลาดมากขึ้น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าสินค้าราคาถูก (Discounters) เป็นต้น โดยอาหารออร์แกนิค ที่ขายอยู่ในซูเปอร์มาเก็ตในยุโรปและอเมริกาเหนือเริ่มจะทำตลาดภายใต้แบรนด์ของตัวเอง (Private labels) และมีส่วนแบ่งการตลาดอย่างต่อเนื่องในบางประเทศ เช่น Coop ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของในเดนมาร์กและห้าง Loblaw ในแคนาดา ซึ่งล้วนเป็นผู้ค้าปลีกที่สร้างแบรนด์อาหารออร์แกนิคของตัวเองทั้งสิ้น

 

**อาหารที่ผลิตจากพืชมีอัตราการเติบโตขึ้น**
เนื่องเพราะคนเริ่มหันมาเป็น “มนุษย์กินผัก” หรือ “มังสวิรัติ” มากขึ้น โดยจะเห็นสินค้าแบรนด์ใหม่ๆที่เจาะกลุ่มvegan โดยเฉพาะ เช่น Fishless fingers, chickenless tenders และ omnipork ที่มีตลาดที่เติบโตในภูมิภาคเอเชีย โดยคาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากพืชวางขายมากขึ้นในร้านค้าปลีกและร้านอาหารเนื่องจากการกินมังสวิรัติและบริโภคนิยมเชิงจริยธรรมเป็นของคู่กัน

 

**ลดผลกระทบของบรรจุภัณฑ์**
กระแสความกังวลของผู้บริโภคด้านมลพิษพลาสติกในท้องทะเลและหลุมฝังกลบนั้นจะเป็นปัจจัยเพิ่มแรงกดดันให้บริษัทผลิตอาหารที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง โดยบริษัทผลิตอาหารออร์แกนิคและอาหารที่ยั่งยืนตั้งป้าว่าจะนำไบโอพอลีเมอร์ (Biopolymer) และวัสดุอื่นๆที่ยั่งยืนมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์

 

 

**การลงทุนและการควบกิจการ**
กระแสมาแรงสำหรับปีนี้คือบริษัท SE (social enterprise) ด้านอาหารเพื่อความยั่งยืนเริ่มจะถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ควบควบรวมกิจอาหารที่มากขึ้น ดูจากกรณีของ Unilever คอนซูเมอร์ยักษ์ใหญ่ของโลกเพิ่งเข้าซื้อแบรนด์ Vegeterian Butcher ไป และก่อนหน้านี้ก็เข้าซื้อบริษัทผู้นำด้านอาหารออร์แกนิคในประเทศบราซิลและสหราชอาณาจักรไปเช่นกัน

 

**แผนการและการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน**
แนวโน้มของการสร้างแบรนด์เชิงจริยธรรมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะฉลากที่ระบุคุณสมบัติสินค้าเป็นประเภท Non-GMO (ปราศจากการตกแต่งยีนส์) อาหารวีแกน และอาหารปราศจากกลูเตน (Glueten-free) จะได้รับความเชื่อถือซึ่งส่งผลต่อยอดขายที่ดีขึ้นด้วย อาทิ 1ใน3 ของกาแฟทั้งหมด หนึ่งในสี่ของสินค้าเกี่ยวกับโกโก้ และเกือบหนึ่งในห้าของสินค้าชา ถ้ามีฉลากระบุว่าได้รับการรับรองแหล่งผลิตประเภทเน้นความยั่งยืน จะได้รับความสนใจสั่งซื้อจากบริษัทที่ให้ความสำคัญกับแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน อาทิ Starbuck (CAFÉ Practices) และ Mondelez Foods (Harmony)

 

 

**ความคิดริเริ่มของร้านค้าปลีกที่มีจริยธรรม**เมื่อปี 2018 EkoPlaza ห้างค้าปลีกสัญชาติเนเธอร์แลนด์ได้กลายเป็นจุดสนใจจากชาวโลกทันทีที่ประกาศตัวว่าเป็นห้างแห่งแรกที่ไม่ใช้พลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ตกับอาหารออร์แกนิค จากภาพลักษณ์ในเชิงบวกเริ่มทำให้บรรดาร้านค้าปลีกอื่น ๆ นำแนวคิดการค้าปลีกแบบไร้ขยะ (zero waste retail concepts) ไปทำบ้าง

 

**กำลังที่เพิ่มขึ้นของคนรุ่น Millennials**
คนรุ่น millennials ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-34 ปี ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิคและสินค้าที่ยั่งยืน โดยพวกนี้จะมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีอำนาจในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเนื่องคนกลุ่ม millennials นิยมใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการจับจ่ายเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ Amazon และเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์อื่นๆได้รับอานิสงส์ส่วนแบ่งการตลาดสำหรับสินค้าที่ยั่งยืนไปด้วย

 

cradit : https://www.environmentalleader.com/2019/01/watch-for-these-7-sustainable-food-trends-in-2019/

Stay Connected
Latest News