ตอนนี้ใครที่ไปซื้อของที่ห้างเทสโก้ โลตัส คงจะเคยได้รับถุงกระดาษสีน้ำตาลใบใหญ่ที่ทางห้างนำมาใส่สินค้าเพื่อใช้ทดแทนถุงพลาสติกกันบ้างแล้ว ถุงใบนี้ไม่ธรรมดาเพราะทำมาจากกระดาษรีไซเคิล และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้กระดาษบางลง แต่ทนทานขึ้น ที่สำคัญสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy
ถุงกระดาษใบนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กับ เทสโก้ โลตัส ตั้งเเต่ปี 2553 โดยนำกล่องบรรจุสินค้าที่ใช้แล้ว จากเทสโก้ โลตัส กลับสู่โรงงาน เพื่อรีไซเคิลเป็นกระดาษใหม่ ส่วนเอสซีจีได้พัฒนาวิธีการรวบรวมเเละจัดเก็บเศษกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเอสซีจียังได้นำ เทคโนโลยีดิจิทัลมา พัฒนา Digital Platform ให้สอดคล้องกับ ไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน เพื่อช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจและตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
วันนี้ชวนไปส่องดูกระบวนการผลิตแพคเกจจิ้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจีกัน
เอสซีจี ธุรกิจเเพคเกจจิ้ง มีหน่วยงาน Sourcing and Supply Management ทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและเศษกระดาษเพื่อนำมาผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ตามนโยบายแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่กระบวนการจัดหาเศษกระดาษจากจุดรับซื้อที่ผู้บริโภครวบรวมมาขายให้ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยผู้ที่สนใจขายเศษกระดาษสามารถติดต่อได้ที่ หน่วยงาน Sourcing and Supply Management เอสซีจี โทร. 02-586-4598
หลังจากนั้น วัตถุดิบจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเริ่มตั้งแต่การให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบคุณสมบัติของกระดาษให้มีความบางลง “Light Weight Paper” โดยลดปริมาณการใช้เยื่อกระดาษ แต่ยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม ทำให้สามารถนำมาใช้ซ้ำและนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย และการพัฒนากระดาษให้มีสัดส่วนวัตถุดิบรีไซเคิลที่สูงขึ้น ขณะที่กระดาษยังคงแข็งแรงและผิวสะอาด รวมทั้งยังสร้างคุณค่าที่หลากหลายด้วยการออกแบบกระดาษรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่างๆ เช่น Merchandising Display ชั้นวางสินค้าเพื่อการประชาสัมพันธ์จากกระดาษรีไซเคิล ทดแทนการใช้วัสดุอื่น เป็นต้น
ต่อมา ด้านกระบวนการผลิต ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น การลดการใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิต และการนำระบบดิจิทัลหรือนำ Application Tools เข้ามาช่วยเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเอสซีจีและคู่ค้า อำนวยความสะดวกในการซื้อขาย และบริหารจัดการรถขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้ดียิ่งขึ้น