ฉลองคริสต์มาสแบบคนรักษ์โลก “จริง” หรือ “ปลอม” ต้นไหนทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน

ตั้งแต่มีเรื่องกระแสรักษ์โลกเข้ามาเกี่ยวข้องกับเทศกาลคริสต์มาส ก็เริ่มมีการถกเถียงกันมากขึ้นว่า “ต้นคริสต์มาส” ซึ่งถือเป็นไฮไลต์สำคัญของเทศกาลนี้ ควรจะใช้ “ ต้นจริง” หรือ “ต้นปลอม” ถึงจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

Credit : www.accuweather.com

 

ถ้ามองย้อนกลับไปที่กระบวนการผลิต “ต้นคริสต์มาสปลอม” จะพบว่ามันถูกผลิตขึ้นมาจาก “พลาสติก” โดยส่วนใหญ่ผลิตจาก PVC ซึ่งเป็นประเภทของพลาสติกที่กำจัดได้ยากและยังต้องการเครื่องมือพิเศษสำหรับการนำไปรีไซเคิล นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบน้ำมัน ซึ่งผลิตคาร์บอนฟุ้ตปริ้นท์ในสัดส่วน 2 ใน 3 รวมถึงกระบวนการผลิตและการขนส่งไปยังร้านค้าหรือบ้านของลูกค้าที่ซื้อต้นคริสต์มาสยังนำมาซึ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งในสัดส่วน 1 ใน 4 อีกด้วย

 

โดยต้นคริสต์มาสปลอมที่สูง 6.5 ฟุต ก่อคาร์บอนฟุ้ตปริ้นท์ประมาณ 40 กิโลกรัมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือเป็นปริมาณที่มากกว่า 2 เท่าจากคาร์บอนฟุ้ตปริ้นท์ของต้นจริงที่ปกติมักจะถูกฝังกลบหลังการใช้งานและมากกว่า 10 เท่าของต้นจริงที่ถูกนำไปเผา ดังนั้นทางการท้องถิ่นจึงแก้ปัญหานี้โดยการมีบริการจัดเก็บต้นจริงหลังการใช้งาน และนำไปบดละเอียดเพื่อทำเป็นวัสดุเพาะต้นไม้ในสวนซึ่งถือเป็นวิธีกำจัดต้นคริสต์มาสจริงตามหลักวิถีรักษ์โลก เพราะถือว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเล็กน้อยมากหรืออาจจะไม่มีเลยด้วยซ้ำ

 

Credit : www.tradicnikloub.com

 

เปรียบเทียบกับ “คริสต์มาสต้นจริง “ ขนาดเท่ากันคือ 6.5 ฟุตดูบ้าง เมื่อนำไปฝังกลบจะสามารถก่อคาร์บอนฟุตปริ้นท์ได้ 16 กิโลกรัมเพราะกระบวนการย่อยสลายจะผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นเสมือนก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สรุปก็คือ “ต้นคริสต์มาสจริง” ก็ยังทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกันแต่อาจจะก่อมลพิษน้อยกว่าต้นคริสต์มาสปลอม

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการขนส่ง จึงควรหาซื้อต้นคริสต์มาสจริงที่ปลูกในชุมชนนั้นที่ได้รับประกันจาก FSC (Forest Stewardship Council) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรภายใต้ความร่วมมือด้านต่างๆจากทั่วโลก เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง

 

โดย Mike Child หัวหน้านักวิจัยแห่ง Friends of the Earth เครือข่ายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวสนับสนุนว่า “ต้นคริสต์มาสต้นจริงที่ปลูกโดยคนในชุมชนนั้น ถือเป็นทางเลือกที่ดีหากคุณสามารถหามาได้สักต้น”

 

 

ในปัจจุบันการหาต้นคริสต์มาสที่ปลูกโดยคนในชุมชนนั้นหาได้ง่ายกว่าสมัยก่อน โดย Oliver Kenny เกษตรกรผู้ปลูกต้นคริสต์มาส กล่าวว่า “มีการปลูกต้นคริสต์มาสขนาดความสูง 100 เมตร ซึ่งต้นไม้เหล่านั้นต่างมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีตลาดรองรับอีกด้วย” และ Oliver ยังหล่าวเสริมว่าในแต่ละปีเขายังมีการปลูกเพิ่มมากกว่าจำนวนที่ตัดไปขายอีกด้วย เพราะต้นคริสต์มาสจริงช่วยลดคาร์บอนในบรรยากาศและส่งผลดีต่อสภาพอากาศอีกด้วย

 

“การปลูกต้นคริสต์มาสในสหราชอาณาจักรช่วยลดคาร์บอนฟุ้ตปริ้นท์ในการขนส่งแทนการนำเข้าต้นคริสต์มาส และคุณยังสามารถหาซื้อต้นใหม่ๆได้เพราะมันโตไวและสามารถตัดได้ภายใน 3 อาทิตย์หลังจากปลูก”

 

 

อย่างไรก็ตาม การทิ้งต้นคริสต์มาสปลอมที่ถึงแม้จะเก็บรักษามานาน แต่ก็ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน ดังนั้น หากคุณเป็นสาวกต้นคริสต์มาสปลอมที่มีเก็บไว้ที่บ้านก็ควรหมั่นนำออกมาใช้งาน แต่หากคุณต้องการซื้อต้นปลอมสักต้นก็น่าจะเลือกต้นมือสองเพื่อจะช่วยลดคาร์บอนฟุ้ตปริ้นท์นั่นเอง

 

ปัจจุบันต้นคริสต์มาสที่ปลูกไว้ในกระถางกำลังได้รับความนิยมเพราะสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ในวันคริสต์มาสปีถัดไป โดยร้านขายต้นไม้ขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักรอย่าง Wyevale Garden Centres ได้มีการคาดการณ์ยอดขายต้นคริสต์มาสพันธุ์ Nordmann ในปีนี้จะมีมากถึง 20,000 ต้น ซึ่งยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้น 20% จากปีที่ผ่านมา

 

Cradit : https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2018/dec/08/are-real-or-fake-christmas-trees-better-for-the-planet

Stay Connected
Latest News