ของดีมันต้องมี…Tokyo 2020 บรรลุเป้าหมายกับUN กีฬาเพื่อความยั่งยืน (SDGs)

โอลิมปิกเกมส์ 2020 มหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติ ที่ไม่ได้เน้นเพียงความเข้มข้นของเกมกีฬาเท่านั้น แต่จะตอกย้ำให้คนทั้งโลกได้รับรู้ถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไปพร้อมกับความสนุกสนานของเกมกีฬาด้วย

 

 

เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีการประชุมหารือของโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ในกรุงโตเกียว ซึ่งมี Alison Smale รองเลขาธิการด้านการสื่อสารระดับสากลแห่งสหประชาชาติ และ Toshiro Muto หัวหน้าฝ่ายบริหารโอลิมปิก Tokyo 2020 ร่วมกันลงนามในสัญญาเพื่อเน้นความสำคัญของการสนับสนุนการแข่งขันกีฬาให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดย Alison Smale กล่าวว่า การสร้างความเข้าใจให้กับทั้งสองฝ่ายไม่เพียงจะทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของการจัดการแข่งขันในแนวทางที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมและความรับผิดชอบ

 

 

Smale กล่าวเพิ่มเติมว่า “นี่เป็นโอกาสที่ดีในการใช้ประโยชน์จากแพลทฟอร์มของกีฬาโอลิมปิกที่ทรงอิทธิพลของโลกอย่างหนึ่งในการสนับสนุนเพื่อให้ SDGs ได้บรรลุผลสำเร็จในกีฬาโอลิมปิก หรือ Tokyo 2020 และเพื่อเป็นการส่งเสริมความสงบสุขและการพัฒนาไปทั่วโลก”

ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติและผู้จัดงานกีฬาโอลิมปิก Tokyo 2020 บรรลุความร่วมมือกันสร้างการรับรู้ให้คนในวงกว้างเข้าใจความเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กีฬา และการจัดการแข่งขันกีฬาในประเทศญี่ปุ่นรวมถึงในประอื่นๆ เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกได้เข้าถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs

 

หมายเหตุ : องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ใน 15 ปีข้างหน้าที่จะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมาย (Goals) 169 เป้าประสงค์ (Targets) โดยเป้าหมายต่างๆ ประกอบด้วย

 

 

เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่
เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงโภชนาการ และสนับสนุนการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง
เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ และมีการบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่ย่อมเยา และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และครอบคลุม และการจ้างงานเต็มอัตรา และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เท่าเทียมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน การต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งการเสื่อมโทรมของดินและฟื้นฟูสภาพดินและหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมายที่ 16 สนับสนุนสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดให้มีการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับทุกคน และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและมีความครอบคลุมในทุกระดับ
เป้าหมายที่ 17 เสริมสร้างความแข่งแกร่งของกลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อมูล: https://news.un.org/en/story/2018/11/1025711

Stay Connected
Latest News