แผน Zero Waste Society รู้แล้วจะอึ้ง!! “อารียาไม่ได้ทำเล่น ๆ นะ”

“ในฐานะที่เราเป็นคนสร้างบ้านสร้างชุมชน จึงต้องวางรากฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรก เพื่อเราจะได้มีส่วนร่วมในการข่วยสังคม” วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ผู้บริหารระดับสูงของค่ายอารียา พรอพเพอตี้กล่าว 

 

วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ผู้บริหารระดับสูงของค่ายอารียา พร็อพเพอตี้

นอกจากจะเป็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัย์แนวหน้าของเมืองไทยแล้ว บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยังเน้นการสร้างความสุขและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาตลอด 5 ปี ภายใต้แนวคิด Sustainable Happiness เป็นการสร้างชุมชนให้มีคุณภาพและมีความสุข ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยเริ่มต้นจากลูกบ้าน พนักงานและแรงงาน คู่ค้าธุรกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชนโดยรอบ

ตั้งแต่ปี 2559-25561 อารียา ฯ ได้เดินหน้าปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับลูกบ้านภายใต้แนวคิด “ รักษ์โลก รักเรา” โดยเน้น 4 เรื่องหลักคือ

 

แผนผังระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำกลับมาใช้รดต้นไม้ภายในหมู่บ้าน

1.ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำกลับมาใช้รดต้นไม้ภายในหมู่บ้าน เริ่มทำโครงการมาตั้งแต่ปี 2560 สามารถช่วยประหยัดค่าน้ำประปา เฉลี่ยปีละ 540,000 บาท ต่อ 25 โครงการ
2. แปลงผักปลอดสารพิษใน เนื่องจากปัจจุบันผักจำนวนมากในท้องตลาดมีสารพิษปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อร่างกาย อารียาจึงชวนลูกบ้านร่วม“โครงการปลูกผัก ปลูกรัก” โดยแนะนำให้ลูกบ้านใช้พื้นที่ 2 ตร.ม.ภายในบ้าน เพื่อปลูกผักสวนครัวหมุนเวียนไว้กินในครัวเรือน

 

อารียา ชวนลูกบ้านมาช่วยกันปลูกแปลงผักปลอดสารพิษ

3. ไฟฟ้าส่องสว่างด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณสวน เฉลี่ยปีละ 450,000 บาท ต่อ 25 โครงการ โดยภาพรวมอัตราการลดค่าใช้จ่ายทั้ง 25 โครงการ สามารถประหยัดได้ถึง 1,132,500 บาทต่อปี
4. ทางปั่นจักรยาน พื้นที่ออกกำลังกาย ช่วยลดการใช้รถยนต์ภายในโครงการ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 0.1 ตันต่อปี/คัน

 

เลนปั่นจักรยาน

อีกเรื่องหนึ่งที่อารียาให้ความสำคัญอย่างมากคือเรื่องปริมาณขยะที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสถิติปริมาณขยะในประเทศไทยพบว่าปัจจุบันมีขยะมากกว่า 26 ล้านตันต่อปี เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนต่อคน หรือคนไทยผลิตขยะคนละ 415 กิโลกรัมต่อปี และยังพบว่าร้อยละ 70 เป็นประเภทขยะรีไซเคิล และ ร้อยละ 30 เป็นขยะประเภทอันตรายและทั่วไป

“ กทม.มีขยะปีละ 1 หมื่นตัน ต้องใช้งบประมาณในการเก็บขยะปีละ 6 พันล้านบาท โดยมีเจ้าหน้าที่ 1 หมื่นคนในการเก็บขยะ ถ้าเรามารณงค์เรื่องขยะ สิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น งบประมาณหรือเงินภาษีของเราที่ต้องนำไปใช้เรื่องขยะก็สามารถนำไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้” วิวัฒน์ กล่าว

ดังนั้นอารียาจึงสานต่อแนวคิด “รักษ์โลก รักเรา” เพื่อนำไปสู่สังคม Zero Waste Society ด้วยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ลูกบ้านตระหนักถึงความสำคัญในการคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านกิจกรรม DIY โดยสอนลูกบ้านในโครงการเรื่องการคัดแยกขยะ ครั้งละ 30 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังทำคู่มือการแยกขยะ

 

 

รวมถึงโครงการ Recycling Day เพื่อรับซื้อขยะที่ลูกบ้านคัดแยกแล้ว โดยมารับซื้อถึงหน้าบ้าน ซึ่ง ดร.ทวีรัก กลิ่นสุคนธ์ ผู้อำนวยการสายงานส่งเสริมพัฒนามาตรฐานงาน งานชุมชนและการบริการลูกบ้าน บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงรายละเอียดของกิจกรรมนี้เพิ่มเติมว่า

“ ปีนี้เริ่มมีพาร์ทเนอร์มาร่วมกับเราเพื่อจัดกระบวนการจัดการขยะRecycle แบบมืออาชีพ โดยร่วมกับ Application Recycle Day และบริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด ที่จัดรถเข้ามารับซื้อขยะรีไซเคิลจากลูกบ้าน โดยมี Application ให้ลูกบ้านสามารถนัดวันผ่านแอปได้ ข้อดีคือเราจะมีข้อมูลจำนวนขยะของแต่ละโครงการเพื่อนำมาบริหารจัดการต่อไป ซึ่งเราตั้งเป้าว่าปีนี้เราจะต้องเก็บขยะให้ได้ 500 ตันจาก 40 โครงการของอารียา เพื่อนำไปต่อยอด โดยบริษัทไฟเบอร์พัฒน์จะนำขยะจำพวกขวดกล่องนมไปRecycle ทำเป็นแผ่นไฟเบอร์เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นโรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก ซึ่งเราวางแผนว่าปลายปีนี้จะชวนลูกบ้านและพนักงานไปทำกิจกรรมCSRเพื่อแจกโรงเรือนเพาะห็ดให้ชุมชนที่เดือดร้อนไปประกอบอาชีพ”

 


ข้อดีของ Application Recycle Day อีกประการคือสามารถเก็บข้อมูลเรื่องขยะจากทุกครัวเรือนของลูกบ้านได้อย่างละเอียด เพื่อต่อยอดไปทำโปรโมชั่นโดยจำนวนขยะที่ลูกบ้านเก็บได้นั้นสามารถนำไปแลกเป็นคะแนนสะสมใน Areeya & You Card เพื่อนำไปแลกแต้มส่วนลดตามร้านค้าได้อีกด้วย

และล่าสุดอารียากำลังหาทางกำจัด “ขยะเปียก” ซึ่งเป็นขยะที่กำจัดยากที่สุดและเป็นปัญหาใหญ่ในการคัดแยกขยะ โดยจับมือกับกลุ่มสตาร์ทอัพ เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่แปลงขยะเปียกจากเศษอาหารในครัวเรือนให้เป็นปุ๋ย โดยวิวัฒน์ยืนยันว่าเครื่องนี้น่าจะสำเร็จและจำหน่ายในปลายปี 2561 ส่วนราคาเครื่องคาดว่าจะถูกกว่าเครื่องมือกำจัดขยะที่ขายอยู่ในท้องตลาดถึง 50 %

“ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปลุกกระแสรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากภายในบ้านก่อน ทางอารียาขอเชิญชวนผู้ประกอบการทุกท่านกลับมาดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย” วิวัฒน์กล่าวปิดท้าย

Stay Connected
Latest News