StartUp ไต้หวัน เปลี่ยนอ้อยเป็นหลอดดูด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พร้อมทดสอบนำก้านองุ่น เยื่อข้าวบาร์เล่ย์ มาผลิตสิ่งของที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ล่าสุดปฏิเสธข้อเสนอจาก 20 บริษัทในประเทศจีนที่ต้องการจะซื้อเทคโนโลยีของเขา แม้ว่าบริษัทต้องการรายได้ก็ตาม

บริษัท 100% Plants ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไต้หวันได้นำอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบโพลีเมอร์ที่ใช้ในการผลิตหลอดดูดที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อาจจะเป็นหนทางใหม่สำหรับการวิจัยทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับพลาสติก โดยวิธีการรวมกลุ่มทางเคมีแบบง่ายๆ เพียงพอที่จะทำให้ผลพลอยได้จากอ้อยและชานอ้อยเป็นวัตถุดิบโพลีเมอร์ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตหลอดดูดที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ซึ่ง Huang Chien-chung ผู้ก่อตั้งบริษัทได้กล่าวไว้

การพัฒนากระบวนการผลิตนั้นล้วนแต่มีความท้าทายทั้งสิ้น ซึ่งโรงงานแรกที่พวกเขาได้ร่วมมือด้วยนั้นได้ตำหนิว่าวัตถุดิบ “ใช้ประโยชน์ไม่ได้” Huang เสริมว่าวิธีแก้ปัญหาจำเป็นต้องแก้ไขที่เครื่องจักรของโรงงาน แต่หลังจากการปรับเทียบค่าและทดสอบแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่แตกร้าวหรือแตกเป็นชิ้นเล็กๆแม้ว่าจะทดสอบในอุณหภูมิที่ -20 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ Huang ได้กล่าวเสริมว่า ทางบริษัทกำลังจะร่วมมือกับ National Taiwan Ocean University ในการทดสอบอัตราการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์เมื่อจมอยู่ใต้มหาสมุทรหรืออัตราการย่อยสลายกับกรดในกระเพาะของปลา

“เราหวังว่าผลการทดสอบจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ไอเดียของบริษัทได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก The Rural Development Foundation โดย Hsieh Chih-cheng ประธานมูลนิธิได้กล่าวว่าการนำขยะทางการเกษตรมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตเป็น Polyethylene ได้ผลจริงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในขณะเดียวกัน บริษัทสตาร์ทอัพ ยังทำการวิจัยนำไผ่ที่ทิ้งแล้วเพื่อผลิตหลอดดูดที่ใช้ครั้งเดียวโดยมีต้นแบบที่กำลังทดสอบอยู่ในสหรัฐฯ และออสเตรเลีย เขากล่าวเสริมว่า ความพยายามของบริษัทได้รับความสนใจจากสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศสหลายแห่ง เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมุ่งที่จะลดการใช้จานพลาสติก ถ้วยพลาสติกและหลอดคนพลาสติกตาม พ.ร.บ. France’s Energy Transition for Green Growth Act

ยิ่งไปกว่านั้น Huang แจ้งว่า ทางบริษัทกำลังพูดคุยกับท้องถิ่นในความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนก้านองุ่นและเยื่อข้าวบาเลย์เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เขาเสริมว่า เขาได้ปฏิเสธข้อเสนอจาก 20 บริษัทในประเทศจีนที่ต้องการจะซื้อเทคโนโลยีของเขา

“เราต้องการสร้างรายได้ แต่เราให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศในฐานะ บริษัทของไต้หวัน” Huang กล่าวในท้ายที่สุด

ที่มา

 

Stay Connected
Latest News