สตาร์ทอัพด้าน e-commerce อย่าง Twentyoff ต้องการออกแบบพฤติกรรมการบริโภคใหม่ โดยกระตุ้นให้เกิดการซื้อจำนวนมาก ถือเป็นเรื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พิสูจน์ความยั่งยืนเป็นรูปแบบธุรกิจที่ดีได้ ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ร้านชำออนไลน์ร้านใหม่อย่าง Twentyoff ได้ประกาศเข้าร่วมทำธุรกิจ e-commerce ที่เติบโตในสิงคโปร์ด้วยภารกิจหนึ่งเดียวที่ต้องการให้การช้อปปิ้งของชำมีความยั่งยืนมากขึ้น จากการเปิดตัวร้านในเดือนมกราคมปีนี้ ทาง Twentyoff มีการกระตุ้นผู้บริโภคให้ซื้อของชำในจำนวนที่มากและวางแผนการซื้อของพวกเขาล่วงหน้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการส่งสินค้า ที่ถือเป็นส่วนสำคัญของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากธุรกิจ e-commerce
บริษัทได้เสนอส่วนลด 10% จากการสั่งซื้อสินค้าที่มีมูลค่าระหว่าง 50-99 ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนลด 15% สำหรับการสั่งซื้อระหว่าง 100-149.90 ดอลลาร์สิงคโปร์และส่วนลด 20% สำหรับการสั่งซื้อสินค้า 150 ดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป
Vishal Gupta หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Twentyoff กล่าวว่า ทั้งตัวลูกค้าและสิ่งแวดล้อม ต่างได้รับประโยชน์ผ่านการวางแผนเตรียมการนี้ เขาอธิบายต่อว่า
“Twentyoff ตอนนี้ได้ส่งสินค้าออกไปแล้ว 110 ครั้งไม่ได้รับกำไรจากการสั่งสินค้าที่มีส่วนลด 20% เท่าไหร่นักแต่เขาหวังว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้ฐานลูกค้าของร้านโตขึ้นและบริษัทก็จะเริ่มปรับขนาดของธุรกิจต่อไป โดยการสั่งซื้อสินค้า 2 ใน 3 เกิน 150 ดอลลาร์สิงคโปร์”
Gupta ให้ความเห็นต่อเนื่องว่า รูปแบบ e-commerce ของบริษัทสร้างการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการขนส่งน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับเชนซูเปอร์มาร์เก็ต โดยสินค้าของ Twentyoff ถูกส่งไปยังคลังสินค้า และต่อมาก็ถูกส่งไปยังบ้านของลูกค้าโดยตรงซึ่งในทางทฤษฎีแล้วเป็นการลดปริมาณการเดินทางนั่นเอง
แตกต่างจากทั่วไป สินค้าถูกส่งไปยังคลังสินค้าส่วนกลางของซูเปอร์มาร์เก็ต และจะถูกจัดส่งไปยังร้านค้าแต่ละแห่งในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นที่ที่ผู้บริโภคเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้า
อย่างไรก็ตาม Gupta ก็ยอมรับว่านั่นเป็นเพียงการ “ลด” การปล่อยก๊าซคาร์บอน หากผู้บริโภคเดินทางมายังร้านค้าของซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยรถส่วนตัวเมื่อเทียบกับการเดินเท้า
Gupta เสริมว่า อีกวิธีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของ Twentyoff คือการจัดตารางการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จัดส่งสินค้าในช่วงระหว่าง 24-48 ชั่วโมง หลังจากได้รับการสั่งซื้อ ซึ่งต่างจากคู่แข่งอย่าง Amazon ,Prime Now และ Honestbee ที่จะส่งภายใน 2 ชั่วโมงหลังได้คำสั่งซื้อ อีกทั้ง บริษัทยังไม่คิดค่าบริการส่งอีกด้วย นอกจากนี้ Twentyoff ใช้กระเป๋ารีไซเคิล Ikea ในการบรรจุสินค้าแทนที่จะใช้ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง และกระตุ้นลูกค้าให้คืนกระเป๋าที่จัดส่งมายังร้าน เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า
“ยักษ์ใหญ่ด้าน e-commerce อย่าง Amazon มีความรับผิดชอบที่จะผลักดันความยั่งยืนให้เกิดขึ้นทั่วโลก ฉันคิดว่าพวกเขายังทำไม่เพียงพอ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพวกเขาถูกขับเคลื่อนโดยการเติบโตของธุรกิจ”
ขณะเดียวกันรายงานพิเศษโดย Eco-business ค้นพบว่าบริษัท e-commerce เพียงไม่กี่แห่ง ที่มีกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนสาธารณะ และเว็บไซต์ช้อปปิ้งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อกระตุ้นการแข่งขันด้านธุรกิจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งและคืนสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการกระตุ้นการบริโภคและทำให้เกิดการสร้างขยะ
แม้ว่าในปัจจุบันร้านชำในสิงคโปร์จะมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% แต่ธุรกิจร้านชำออนไลน์ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 10.7% ตลอดทั้งปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน บริษัทสตาร์ทอัพร้านชำออนไลน์ท้องถิ่น ได้แก่ Honestbee และ Redmart กำลังได้รับความสนใจในสิงคโปร์ ในขณะที่ร้านชำอย่าง Fairprice และ Sheng Siong กำลังเพิ่มสถานะออนไลน์ของพวกเขา และ Twentyoff ต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าความยั่งยืนนั้นสามารถเป็นรูปแบบธุรกิจที่ดีได้ และความยั่งยืนนั้นไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
เมื่อมองไปข้างหน้า Rajni Gupta ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและคู่ชีวิตที่สร้าง Twentyoff มองเห็นความท้าทายในการเติบโตอยู่ 3 ข้อ ได้แก่ การให้ลูกค้าวางแผนก่อนการซื้อ จัดหาเงินทุนเพื่อการตลาด และการนำเสนอผลิตภัณฑ์สดเพื่อรองรับการบริโภคของประชากรชาวสิงคโปร์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่ง Twentyof ได้วางแผนเพื่อดำเนินธุรกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่องรวมถึงการซื้อรถ Euro VI-compliant หรือแม้แต่รถแวนไฟฟ้า และทดแทนการใช้กระเป๋ารีไซเคิล Ikea มาเป็นกล่องพลาสติกรียูสสำหรับการจัดส่งสินค้า
อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมก่อตั้งใจที่จะเข้าถึงผู้บริโภค 20% ของจำนวนประชากรสิงคโปร์ และ 10% ของตลาดค้าปลีกในสิงคโปร์ด้วยแผนการที่จะขยายธุรกิจไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่เหลือ
Gupta ทิ้งท้ายว่า
“Twentyoff ต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าความยั่งยืนนั้นสามารถเป็นรูปแบบธุรกิจที่ดีได้และความยั่งยืนนั้นไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม”
ที่มา