จริงไหม? “การประกันภัย” ช่วยบรรเทาปัญหาเกษตรกรรากหญ้า จาก Climate Change

เงินกว่าพันล้านดอลลาร์ ที่ลงทุนกับแผนการประกันภัย เพื่อช่วยเกษตรกรลดผลกระทบที่เกิดจาก Climate Change ที่แย่ลง แต่มีหลักฐานที่น้อยนิด ที่แสดงให้เห็นว่าแผนนี้ใช้ได้กับกลุ่มคนที่จนที่สุดนี้ได้

ผู้เชี่ยวชาญยังตั้งข้อสังเกตต่อเนื่องว่า ประมาณ 75% ของจำนวนคนที่จนที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทที่ประสบภัยแล้ง และน้ำท่วมหรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง ตามการรายงานของกองทุนระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือ IFAD รายงานไว้

ทั้งนี้ หน่วยงานสหประชาชาติกล่าวว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่กำลังคุกคามส่งผลให้ความก้าวหน้าด้านการพัฒนาชะงัก หรือล่าช้าลงในบางประเทศ และยังส่งผลต่อเนื่องให้ผู้บริจาคและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือมองเห็นว่า “การประกันภัย” เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยบรรเทาเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับข้อเสนอในการเข้าถึงสินเชื่อและการฝึกอบรม

แต่การศึกษาด้านผลกระทบของประกันภัย ต่อเกษตรกรขนาดเล็ก และครอบครัวของพวกเขา ยังมีไม่เพียงพอเท่าไหร่นัก

Bidisha Barooah ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินแห่ง the International Initiative for Impact Evaluation กล่าวในการประชุมที่ IFAD สำนักงานใหญ่ที่ประชุมด้านความยากจนของคนในชนบทที่ไว้ว่า หลักฐานด้านการประกันภัยการเกษตรยังไม่เพียงพอ และโดยเฉพาะสำหรับคนที่ประสบภัย เช่น ผู้หญิงและเด็ก

“อีกเหตุผลหนึ่งคือหลายๆ คนยังไม่มีการประกันภัยนั่นเอง ซึ่งบ่อยครั้งก็เกิดจากการที่พวกเขาไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้หรือประเภทของการประกันภัยนั้นไม่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเขา ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการก็ไม่ได้ลงทุนอย่างเพียงพอในการจัดการกับความต้องการของเกษตรกร”

Francesco Rispoli ผู้เชียวชาญการให้บริการด้านการเงินแห่ง IFAD กล่าวเพิ่มเติมว่า

“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับการมีข้อมูลด้านพืชพันธุ์และสภาพอากาศที่มีมาตรฐาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีน้อยมากในประเทศกำลังพัฒนา แต่ข้อมูลเหล่านี้ มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความต้องการของลูกค้าในการจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัย แม้ว่า การประกันภัยสามารถปกป้องทรัพย์สินของเกษตรกรและโอนถ่ายความเสี่ยงส่วนบุคคล ธุรกิจ สถานบันการเงินรายย่อยและรัฐบาลได้”

ทั้งนี้ แผนงานการประกันภัย สำหรับเกษตรกรที่ยากจนส่วนใหญ่นั้น ได้รับการอุดหนุนเงินโดยรัฐบาล และได้รับการออกแบบโดยครอบคลุมสภาพอากาศที่รุนแรงที่เป็นผลกระทบหลัก แต่จะเกิดขึ้นบางปีเท่านั้น แต่ถ้าเกษตรกรได้รับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกปี ค่าใช้จ่ายเงินเพิ่มในการประกัน สำหรับภาวะช็อกจากสภาพภูมิอากาศซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปีนั้นจะเป็นสิ่งที่ยากกว่า

หน่วยงานของสหประชาชาติ ได้เตือนถึงระดับผู้อดอยากของโลก” ว่า มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาจะมีความร่ำรวยเพิ่มขึ้น และคนจนได้รับประโยชน์จากความร่ำรวยนี้ก็ตาม แต่พวกเขายังอยู่เหนือเส้นความยากจนที่สุดทีได้รับเงินเพียง 1.90 ดอลลาร์ต่อวันเพียงนิดเดียว

“เราต้องกลับมาย้อนถามตัวเองว่าหากการพัฒนานั้นมันประสบผลสำเร็จจริง แต่กลับมีอีกหลายชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ไม่ปลอดภัย จึงมีเพียงวิธีเดียวที่จะกำจัดความยากจนและความอดอยากในพื้นที่ชนบทไปได้คือ การหาสาเหตุหลักที่หยั่งรากซึ่งรวมถึงความไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง”

Cornelia Richter รองประธานแห่ง IFAD กล่าว และยังเสริมอีกว่า ความไม่เท่าเทียมกันของประเทศกำลังพัฒนานั้นได้มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากว่าประเทศเหล่านั้นร่ำรวยมากขึ้นและนี่เป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับพื้นที่ชนบท

Unni Karunakara ประธาน Medicins Sans Frontieres Holland องค์กรการกุศลบรรเทาด้านการแพทย์ กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นผลของตัวเลือกทางเศรษฐกิจ และการเมืองที่เกิดขึ้นจากเบื้องบน

“ผมเชื่อว่า มันเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะกำหนดการพัฒนาจากภายนอก เพราะเป็นสัญญาระหว่างประชาชนและรัฐบาลของพวกเขา เช่น ประเภทของการประกันสุขภาพที่ทางการให้มานั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน และในบางกรณีการปรับปรุงการประกันสุขภาพนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขตามเทคนิคที่ควรจะเป็น

เขายังทิ้งท้ายไว้ว่า ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนานั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อประชาชนในประเทศส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการทำงานของประเทศ

ที่มา

 

Stay Connected
Latest News