เปิดวาร์ป เฟอร์ฯ Pentatonic ขยะทั้งนั้น ในยุค Circular Economy

SatrtUp อย่าง Pentatonic นำขยะอาหาร สมาร์ทโฟน กระป๋อง ก้นบุหรี่ ฯลฯ ไปอยู่ในเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ด้วยกระบวนการฉีดขึ้นรูปที่เหมาะสม และ มุ่งเป้าหลักที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการผลิตเฟอร์ฯในยุค Circular Economy

Pentatonic นำทัพโดย Jamie Hall และ Johan Boedecker เปิดตัวคอลเลคชั่นแรกของเฟอร์นิเจอร์ flat-pack ตามสั่งที่ผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลทั้งหมดในงานเทศกาล London Design Festival ในปีนี้

Hall และ Boedecker หวังว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะช่วยให้เกิด “การแปลงโฉมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์” ด้วยการแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นสามารถผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลในสเกลที่ใหญ่ได้

เมื่อพูดถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์  คุณสมบัติของขยะแต่ละประเภทจะได้รับการพิจารณา ซึ่งตัวอย่างขยะโดยทั่วไปนั้นได้แก่ สมาร์ทโฟน กระป๋องและก้นบุหรี่

คลิกภาพชมคลิปวิดีโอ
“การผลิตเฟอร์นิเจอร์จากขยะประเภทต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังจะผลิตเฟอร์นิเจอร์แนวไหน เราเลือกใช้ขยะตามคุณสมบัติและความเป็นไปได้ของการนำมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้นั้นต้องใช้กระบวนการผลิตที่แม่นยำมาก”

หนึ่งในแม่ทัพ Pentatonic กล่าวต่อเนื่อง ถ้าเป็นขยะพลาสติกจะถูกนำไปทำความสะอาด และแยกประเภทก่อนที่จะบดและอัดเป็นก้อนเพื่อนำไปสร้างสรรค์วัสดุใหม่ในการขึ้นรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยเก้าอี้และโต๊ะต่างได้รับการออกแบบโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม เนื่องจากส่วนประกอบแต่ละชิ้นถูกออกแบบเพื่อให้สามารถค้ำกันได้ ซึ่งเป็นการลดปริมาณขยะและกาวที่เป็นพิษหรือยางสนจากกระบวนการประกอบชิ้นส่วน

“คนในโลกตระหนักถึงสุขภาพตัวเองมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆมากขึ้น รวมทั้งตระหนักเพิ่มขึ้นว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้น ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน”

เขายังเสริมว่า “เราเห็นอยู่ทุกวันว่า บริษัทไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของเรา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเอง และคิดอย่างรอบคอบมากขึ้นก่อนการตัดสินใจซื้อ”

นอกจากนี้ บริษัทกำลังนำเสนอ ระบบ Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ซึ่งลูกค้าสามารถขายคืนชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ให้กับ Pentatonic เพื่อนำไปรีไซเคิล และนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง Hall กล่าวว่า

“เรากำลังพยายามแปลงโฉมวัฒนธรรมการซื้อขายเฟอร์นิเจอร์กับ Pentatonic ซึ่งเป็นต้นแบบ Circular Economy ในการซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคคืน ก็เพื่อนำมารีไซเคิลและทำผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ขึ้นมา และนี่เป็นสิ่งใหม่สำหรับวงการออกแบบ”

ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์ the Telegraph ทาง Pentatonic ได้รับเงินทุนจากการระดมทุนก่อนการเปิดตัวจำนวน 4.3 ล้านปอนด์ ทั้งนี้ นักลงทุนอย่าง Miniwiz ซึ่งเป็นสตูดิโอในไต้หวันและเบอร์ลินต่างก็หาวิธีการใหม่ๆสำหรับการใช้ขยะและการลดผลกระทบของวัสดุต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีผู้สนับสนุนอื่นๆอีก ได้แก่ รองประธานของบริษัทเทคโนโลยีจีนและนักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเยอรมนี

อย่างไรก็ตาม Pentatonic เปิดตัวคอลเลคชั่นแรกในนิทรรศการ Design Frontier ที่จะจัดขึ้นในงานเทศกาล London Design Festival โดยการรีไซเคิลถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีในงานครั้งนี้ เนื่องจากนักออกแบบต่างมองหาวิธีการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่หลากหลายตั้งแต่ เห็ดต่างๆ ไปจนถึงผงสาหร่ายแดง เป็นต้น

Hall และ Boedecker เชื่อว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะแสดงให้คนเห็นว่าความยั่งยืนสามารถนำไปใช้ในสเกลใหญ่ได้ และนำไปวางขายในท้องตลาดได้

“การนำความหลากหลายเทคโนโลยีมาใช้ในงาน จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ เหมือนกับพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กลายเป็นพลังงานที่มีศักยภาพตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา การรีไซเคิลและการผลิตแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา และขณะนี้เราอยู่ในจุดที่สามารถนำเสนอได้ ไม่เพียงแค่เปรียบเทียบ แต่รับรู้ถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าวิธีการเดิมๆ”

ที่มา

ข่าวเกี่ยวข้อง

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม