ในภาวะวิกฤติน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ทุกขนาด จะต้องต่อสู้เพื่อดูแลทรัพยากรที่สำคัญนี้ให้ดีขึ้น
หลายหน่วยงานที่รวมถึง บริษัท NGO สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ และกลุ่มนักลงทุนยอมรับถึงความท้าทาย “วิกฤติน้ำ” และได้สนองตอบต่อแผนงานในการดูแลรักษาน้ำ ซึ่งขณะนี้มีมากกว่า 10 แผนงานแล้ว จุดมุ่งหมายก็เพื่อชี้แนะแนวทางให้กับบริษัทต่างๆในการลดความเสี่ยงและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวจากการเผชิญหน้ากับวิกฤติน้ำที่กำลังเพิ่มขึ้น
การจะช่วยสนับสนุนแผนงานการดูแลน้ำที่มีอยู่เดิม และสร้าง Commitment โดยมีการลดความเสี่ยง การเพิ่มความยืดหยุ่น และการเพิ่มค่านิยมให้กับผู้มีส่วนได้เสีย มี 5 คำแนะนำที่เกิดจากต่างประเทศ
1.ลงทุนด้านข้อมูล วิเคราะห์และเปิดเผยข้อมูล
บริษัทต้องการข้อมูลของสถานที่การเข้าถึงน้ำที่จำเป็น ตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค หากไม่มีข้อมูลด้านน้ำเลย การตัดสินใจด้านความมั่นคงด้านน้ำ สาธารณูปโภคและการลงทุนด้านการอนุรักษ์ จะมีความเสี่ยง แต่เมื่อใดที่มีการเก็บข้อมูลน้ำแล้ว ประโยชน์ของบริษัทก็จะเกิดขึ้นเป็นเท่าตัว บริษัทที่แชร์ข้อมูลด้านน้ำ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีกลยุทธ์ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานในระยะยาวได้
ตัวอย่างบริษัท Facebook ถือเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนี้อยู่ โดยได้สร้าง Dashboards ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อสังเกตประสิทธิภาพของการใช้น้ำที่มีอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Facebook ทั่วโลก
2. ลำดับความสำคัญเพื่อการปฏิบัติทั้งภายในและภายนอก
ด้วยการเข้าถึงข้อมูล หลายบริษัทสามารถกำหนดการลำดับความสำคัญได้อย่างรวดเร็วเพื่อการลงทุนด้านการดูแลน้ำตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งภายในและภายนอก การบันทึก การแบ่งปันข้อมูลออกสู่สาธารณะนั้น จะสามารถสร้างความรับผิดชอบและสร้างความเชื่อมั่นต่อผลการตัดสินใจของระดับผู้บริหารในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่าง นโยบายด้านน้ำของบริษัท General Mills ช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อความแข็งแกร่งของธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ และแถลงการณ์ด้านการดูแลน้ำของบริษัท Mars Inc. สะท้อนให้เห็นความตั้งใจของบริษัทในการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ในขณะที่ลดความตึงเครียดด้านน้ำไปในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ แผนงาน Siting ของ Nestle ยังเป็นตัวชี้แนะกระบวนการหาตำแหน่งที่ตั้งบริษัท เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจเพื่อธุรกิจและชุมชน
3. รวมเรื่องน้ำเข้าไว้ในกลยุทธ์ด้านการเติบโตของบริษัท
นอกเหนือจากการปรับปรุงการจัดการน้ำแล้ว หลายบริษัทยังรวมเรื่องน้ำเข้าไว้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำได้
ตัวอย่าง บริษัท P&G มุ่งที่จะให้ผู้บริโภคจำนวน 1 พันล้านคนเข้าถึงสินค้าประเภทน้ำได้อย่างเพียงพอมากขึ้น เช่นเดียวกับบริษัท Unilever ที่กำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และโครงการ Replenish Africa Initiative (RAIN) ของบริษัท Coca-Cola ที่กำลังพัฒนาการเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในตลาดผู้บริโภคที่กำลังขยายกว้างอย่างรวดเร็ว ในภาวะวิกฤติน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในการคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นองค์กรที่มีความสามารถจึงจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเติบโต
4. นำนวัตกรรมมาใช้
กุญแจสำคัญของความก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤตินั่นก็คือนวัตกรรม ในส่วนของน้ำ การนำเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุปกรณ์ต่างๆที่มีความชาญฉลาดในปัจจุบัน สามารถขับเคลื่อนการใช้น้ำได้อย่างเพียงพอขึ้น โดยผู้บริโภคภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคทั่วไป ได้ปรับปรุงการจัดการการใช้ประโยชน์จากน้ำและลดความต้องการน้ำในภาคเกษตร เนื่องจากประโยชน์ของความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมนั้นเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว บริษัทผู้นำหลายแห่งกำลังนำนวัตกรรมด้านน้ำเพื่อปกป้องโลกและเน้นย้ำถึงวิกฤตน้ำมากขึ้น เช่น
· บริษัท Levi’s ได้พัฒนาโครงการ Water<Less เพื่อลดน้ำในกระบวนการผลิต
· ตึก Salesforce แห่งใหม่ ได้ติดตั้งระบบรีไซเคิลน้ำเสียเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
· บริษัท Microsoft กำลังสร้าง Net-zero Water Campus แห่งแรกใน Silicon Valley
· บริษัท Apache Corporation ใช้วิธีเจาะชั้นดินโดยไม่ใช้น้ำสะอาดในเมืองเท็กซัสตะวันตก
5. ผนวกเรื่องการดูแลน้ำเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร
บริษัทต้องสร้างวัฒนธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการดูแลน้ำ โดยการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันต่อความเสี่ยงของภาวะน้ำในทุกระดับขององค์กร ในภาวะวิกฤติน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในการคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นองค์กรที่มีความสามารถจึงจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเติบโต
ตัวอย่าง บริษัท General Motors ซึ่งเป็นบริษัทที่สะท้อนประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก และความมุ่งมั่นในการผลิตรวมถึงเรื่องน้ำ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเงินชดเชยของพนักงานฝ่ายผลิตและการจัดการระดับโรงงาน เช่นเดียวกับบริษัท AB InBev บริษัทกลั่นสุราขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มองเห็นว่าประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนถือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ด้านประสิทธิภาพและค่าตอบแทนของผู้จัดการอาวุโส
การผนวกเรื่องน้ำเข้ามาในค่านิยมหลักของบริษัทอย่างเต็มรูปแบบเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดการดูแลน้ำขึ้นมาอย่างจริงจัง
ที่มา