Tiger Beer จับมือคนเก็บขยะขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่กำลังจะหายไป เพื่อกระตุ้นให้ชาวสิงคโปร์หันมารีไซเคิล และนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ ในเทศกาลตรุษจีน
ช่วงเทศกาลตรุษจีน หลายครัวเรือนในเมืองกำลังจัดบ้านของตัวเองให้เป็นระเบียบตามประเพณีนิยมของเทศกาลสำคัญ Tiger Beer ได้สร้างความร่วมมือกับคนขายขยะชาวสิงคโปร์ในแคมเปญเพื่อกระตุ้นให้ชาวสิงคโปร์รีไซเคิลขยะมากขึ้นจนถึงเทศกาลตรุษจีน
แคมเปญ Recycle with Tiger จะเห็นพนักงานของยี่ห้อเบียร์ท้องถิ่นกับกลุ่มคนเล็กๆที่ชื่อว่า Karung guni หรือ “คนเก็บขยะ” ไปเก็บรวบรวมขยะสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วตามบ้าน เช่น หนังสือพิมพ์เก่าๆ เสื้อผ้า วิทยุ โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมารีไซเคิล
ความคิดเห็นเบื้องหลังแคมเปญนี้ ก็เพื่อจะเริ่มต้นกระบวนการรีไซเคิลในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่อัตราการรีไซเคิลในครัวเรือนยังคงต่ำเท่าเดิมราวๆ 20% ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ขยะส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน และหลังจากนั้นจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ และขยะประเภทพลาสติกจากเมืองเพียง 7 % เท่านั้นที่จะถูกนำไปรีไซเคิล
คนเก็บขยะ Karung guni ซึ่งมีรายได้จากการเก็บสิ่งของเหลือใช้และนำไปขายต่อ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญ แต่ถูกเมินเฉยจากเศรษฐกิจขยะนอกระบบของสิงคโปร์ และพวกเขาถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวัฒนธรรมการรีไซเคิลในเมืองอีกด้วย
กลุ่มผู้สูงวัยส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ทำการค้าในตลาดเก่าแก่ของสิงคโปร์ ได้รับความเสียหายกันเป็นแถบ เมื่อตลาด Sungei Market ตลาดสินค้ามือสองที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี 1930 ถูกปิดตัวลงเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
Chua Ngak Theung อายุ 62 ปี หนึ่งในสมาชิกจาก 6 คน ของ Karung guni ที่ได้เข้ามาร่วมงานกับการขับเคลื่อนด้านการรีไซเคิลของ Tiger Beer กล่าวว่า การสูญเสียตลาด Sungei Market สำหรับเขาแล้วเป็นเสมือน “นกที่สูญเสียปีกไป” ยิ่งไปกว่านั้น พ่อค้าขยะยังไม่เจอสถานที่ขายของใหม่อีกตั้งแต่การปิดตัวของตลาด และพวกเขาจำเป็นต้องออกจากบ้านไปไกลกว่าเดิมเพื่อรวบรวมและขายสิ่งของเหล่านั้น
Chua ประกอบอาชีพนี้มาตั้งแต่ปี 1978 กล่าวเสริมว่า การปิดตัวของตลาดครั้งนี้ยังหมายรวมไปว่า สิ่งของเหล่านั้นจะไม่ได้รับการรีไซเคิล และเป็นการเพิ่มปริมาณขยะสำหรับเผาอีกด้วย เขาหวังว่าการร่วมงานกับ Tiger Beer จะกระตุ้นวัฒนธรรมการรีไซเคิลในสิงคโปร์ได้ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนในการสร้างสำนึกต่อความสำคัญของการรีไซเคิล และการวัดผลนโยบายความมั่นคง เพื่อสนับสนุนการทำงาน เขาเสริมต่อว่า “พฤติกรรมการรีไซเคิลจำเป็นต้องได้รับการปลูกฝัง”
สำหรับแคมเปญของ Tiger นั้น Karung guni จะสวมเสื้อยืดที่มีแบรนด์ Tiger ตามเส้นทางการเก็บรวบรวมขยะใน 2 เขตใจกลางเมืองสิงคโปร์ ได้แก่ Toa Payoh และ Jurong ตะวันตก โดยพนักงาน Tiger จะแจกใบปลิวที่มีข้อมูลแจ้งถึงสถานที่ถัดไปที่ Karung guni จะไปและสิ่งของที่เหมาะและไม่เหมาะสมสำหรับการรีไซเคิล
ทั้งนี้ สิ่งที่สามารถรีไซเคิลได้ประกอบด้วยของที่ทำจากแก้ว เหล็กและพลาสติก โดยในใบปลิวจะประกอบไปด้วยคำร้องขอให้แยกวัสดุออกจากกัน และชะล้างสิ่งของที่มีดินติดอยู่ ก่อนการส่งมอบให้กับ Karung guni หรือ นำไปใส่ในถังขยะรีไซเคิลสีน้ำเงินใต้อาคารที่พักสาธารณะ
จากนั้น พนักงาน Tiger จะมอบสิ่งของให้เป็นการตอบแทน ได้แก่ พวงกุญแจเหล็กหุ้มพลาสติก Tiger Beer ที่โปรโมท The Ultimate Tiger Brewery Experience และเพื่อให้เกิดการขยายไปในวงกว้าง Tiger Beer กำลังเตรียมให้มีการประกวดผ่าน Facebook ด้วย ซึ่งจะได้รับผลิตภัณฑ์เป็นรางวัลให้กับผู้ที่รีไซเคิลในพี้นที่อื่นของเกาะสิงคโปร์อีกด้วย
Mitchell Leow หัวหน้าฝ่ายกิจการองค์กร เอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี่สิงคโปร์ กล่าวว่า
“ชาวสิงคโปร์สร้างขยะ 7 พันล้านกิโลกรัมทุกๆ ปี และจากสถิตินี้ก่อให้เกิดแคมเปญล่าสุดนี้ของบริษัทขึ้นมา แม้ว่าบริษัทจะตอบแทนด้วยผลิตภัณฑ์ แต่ไม่มีการโปรโมทการขายร่วมในแคมเปญอย่างแน่นอน”
การรีไซเคิลกับ Tiger เป็นส่วนหนึ่งของการลดขยะระยะยาวของ Tiger เพื่อกระตุ้นให้ชาวสิงคโปร์บริโภครับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย แคมเปญนี้จะมีส่วนในการศึกษาทัศนคติของชาวสิงคโปร์ต่อการรีไซเคิลด้วย
“เราต้องการทราบว่าอะไรเป็นอุปสรรคของผู้บริโภค ซึ่งเราจะสามารถแก้ปัญหาต่อไปได้”
Leow ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า หากประสบความสำเร็จ อาจจะมีการขยายแพลตฟอร์มไปยังตลาดอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นไปได้
ที่มา
– eco-business.com