CEO ของ Heineken พูดถึง กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนฉบับใหม่

กำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ในการขาย การแช่เย็นและการบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังนำร่องแผนการกำหนดราคาคาร์บอนภายในของ Heineken  ต้องการเห็นว่าได้กลั่นเบียร์ด้วยพลังงานสีเขียวที่แท้จริง

โครงการ Drop the C ของ Heineken มุ่งที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานความร้อนทดแทนและการผลิตไฟฟ้าจากเดิมร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 70 ในปี 2030 ที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนคิดเป็นร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปีฐานในปี 2008 ทั้งนี้ ในปี 2017 Heineken ได้เปิดตัวหลายโครงการที่จะสนับสนุนเป้าหมายของปี 2030 ให้ประสบผลสำเร็จ ในขณะเดียวกัน เป้าหมายนี้จะยังได้รับการตรวจสอบจากภายนอกโดยองค์กร the Science Based Targets

“ด้วยความก้าวหน้าที่ดีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เวลานี้จึงเหมาะสมต่อการกำหนดเป้าหมายใหม่ของเรา เมื่อผมเยือนโรงงานผลิตเบียร์ของเราแล้ว ผมอยากจะเห็นว่าเรากลั่นเบียร์ด้วยพลังงานสีเขียวที่แท้จริง และการซื้อใบรับรองที่ไม่ได้จัดกลุ่ม จะทำให้เราไม่บรรลุเป้าหมายในการลดได้เลย”

Jean-François van Boxmeer  ประธานบริษัทและ CEO ของ Heineken กล่าวต่อเนื่องว่า

“นอกเหนือจากการผลิต การจำหน่ายและการแช่เย็นแล้ว เรายังต้องตรวจสอบการบรรจุภัณฑ์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นตัวแทนบอกถึงสัดส่วนที่สำคัญของ Carbon Footprint นั่นเอง ในขณะเดียวกัน การบรรจุภัณฑ์จะเป็นส่วนที่การลดปริมาณจะประสบความสำเร็จได้ยากขึ้น เนื่องจากเราไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง แต่เราได้เชิญชวนให้หุ้นส่วนธุรกิจของเราและคนอื่นๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้คลอบคลุมธุรกิจของเรา”

Energy Footprint ของ Heineken ได้รับการขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อน (Scope 1 ของระเบียบ GHG) ซึ่งให้ความร้อนกับหม้อต้มที่ใช้ในการกลั่น และกระแสไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อกระบวนการผลิตด้วยเช่นกัน (Scope 2 ของระเบียบ GHG) ทั้งนี้ การแยกส่วนของการรวมกันของพลังงานคือร้อยละ 70 เป็นพลังงานความร้อนและอีกร้อยละ 30 เป็นไฟฟ้า

บริษัทได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าทดแทนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม โดยโรงกลั่นของ Heineken ในเมือง Massafra ประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในโรงกลั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ดำเนินการด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกำลัง 3.3 เมกาวัตต์ ในขณะเดียวกัน โรงกลั่นในเมือง Göss ประเทศออสเตรีย เป็นโรงกลั่นที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิสู่ชั้นบรรยากาศ (Carbon Neutral) ส่วนโรงกลั่นของ Heineken ในสิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกสองโรงที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ในปัจจุบันนี้

ร้อยละ 29 ของโรงกลั่น Heineken ทั่วโลกใช้ไฟฟ้าทดแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 7 ของพลังงานความร้อนที่ใช้ ได้มาจากพลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ โดยทางบริษัทกล่าวว่า การสร้างความก้าวหน้าด้วยพลังงานทดแทนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จนั้นยากกว่าการใช้ไฟฟ้าเสียอีก เนื่องจากพลังงานความร้อนทดแทนต้องผลิตขึ้นมาเองและต้องเชื่อใจได้ว่าให้โรงกลั่นยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนี้ โซลูชั่นเชิงพาณิชย์จำนวนน้อยที่มีอยู่ในหลายตลาดที่ Heineken ประกอบกิจการอยู่ ได้แก่ แอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกา

Heineken ได้เริ่มทดลองกับของเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากชุมชนว่าจะสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างไร พร้อมทั้งจัดสรรรายได้ให้คนในชุมชน โดย Heineken ได้รับซื้อแกลบจากชาวนาเวียดนามเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้หม้อกลั่น

ทั้งนี้ หม้อกลั่นชีวมวลชนิดใหม่เริ่มถูกนำมาใช้งานในโรงกลั่นของ Heineken ในเมือง Ponta Grossa ในปี 2017 ซึ่งมีการนำไม้สับจากบริษัทปลูกต้นไม้ทดแทนที่ได้รับการรับรองมาใช้เป็นเชื้อเพลิง

ยิ่งไปกว่านั้น Heineken ยังรณรงค์ในโครงการปลูกป่าทดแทนในเม็กซิโก สเปนและอินโดนีเซียอีกด้วย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายของปี 2030 เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตลอดทั้งสนับสนุนการประหยัดน้ำ และ Heineken จะเริ่มการนำร่องการกำหนดราคาเงาของคาร์บอนเพื่อช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนด้านการลงทุนที่ยั่งยืนและกระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม

ที่มา
sustainablebrands.com

Stay Connected
Latest News