CSR – CSV เลือกทำความดีที่ง่ายสุด แบบไหนดี ?

ถ้าจะนับเวลาการเกิดคำทั้งสอง CSR – CSV คงไม่น้อยกว่า 10 ปี ก็น่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนคำใดคำหนึ่ง หรือทั้ง 2 คำ กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไปแล้วก็น่าจะมีอยู่ไม่น้อย ซึ่งทั้ง 2 คำมีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย

CSR (Corporate Social Responsinily) หรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ทั้ง “ฟิลิป คอตเลอร์” และ “แนนซี่ ลี” ได้แบ่งไว้ 6 ประเภท มีตั้งแต่แนวคิดที่มุ่งเน้นการตลาด เช่น การส่งเสริมประเด็นสังคมของบริษัท การตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นสังคม การตลาดเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวคิดที่อยู่นอกเหนือกิจกรรมของ ฝ่ายการตลาด เช่น กิจกรรมอาสาสมัครพนักงาน รวมไปถึงแนวปฏิบัติทางธุรกิจเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นความรับผิดชอบภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจภายในองค์กร รวมถึงใช้ผู้ชำนาญการพิเศษ ความสนับสนุนด้านเทคนิค การอนุญาตให้ใช้บริการต่างๆ การจัดหาบุคลากรด้านอาสา

CSV (Creating Shared Value) คุณค่าร่วม เกิดขึ้นจากจุดร่วมกันระหว่าง โอกาส ความท้าทายทางธุรกิจ ความต้องการทางสังคม สินทรัพย์ และความเชี่ยวชาญขององค์กร ซึ่งต้องเป็นนโยบาย ข้อปฏิบัติ ส่งเสริมการสร้างความได้เปรียบของบริษัท ร่วมสร้างความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในชุมชนที่บริษัทดำเนินการ ซึ่ง Porter และ Kramer เห็นว่า CSV ควรนำมาใช้ทดแทน CSR เพื่อเป็นแนวทางของบริษัทต่อการลงทุนในชุมชน และสังคม เป็นการผสานรวมกันเพื่อให้ เกิดความสามารถในการแข่งขัน และการทำกำไรให้แก่องค์กรธุรกิจ แต่ CSR ส่วนมากเน้นที่การสร้างชื่อเสียงให้แก่กิจการ และมีความเชื่อมโยงต่อธุรกิจค่อนข้างตํ่า ทำให้มีความเป็นไปได้ยากในการดำเนินกิจกรรม CSR ในระยะยาว

เปรียบเทียบ CSR vs CSV

มองกลางๆ ไม่ว่าจะเลือกใช้ คำใดคำหนึ่งก็ตาม ตามเป้าหมาย และศักยภาพของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่มีเป้าหมายเดียวกันที่จะร่วมกันทำความดีให้กับสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบใหญ่ที่องค์กรนั้นๆ จะต้องมีธรรมาภิบาล เป็นสำคัญที่สุด

Stay Connected
Latest News