คนตาบอด , สายตาเลือนราง , ผู้สูงอายุ เข้าถึง Mobile Banking เท่าๆ กับคนปกติ

ธนาคารกสิกรไทย น่าจะอธิบายเรื่องข้างต้นได้ดีผ่าน K PLUS Beacon แอปพลิเคชั่น บน Mobile Bank ที่ตอบโจทย์ ผู้บกพร่องทางการเห็น (Visually Impaired) ให้ทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือได้เป็นครั้งแรก เกิด Social Impact พร้อมๆ กัน

เมื่อคนสายตา 3 ประเภท คือคนตาบอด , ผู้มีสายตาเลือนราง , ผู้สูงอายุ จะใช้บริการทางการเงินแบบพื้นฐานมากๆ เช่น ถอนเงิน โอน จ่าย เช็คยอด คิดว่าเขาจะทำอย่างไร

ดร.นันทนุช สุวรรนาวุธ ผู้เชี่ยวชาญระบบออนไลน์สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น ปัจจุบันเป็นนักวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมีสายตาเลือนราง เคยเล่าถึงเวลาทำธุรกรรมทางการเงินง่ายๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม เมื่อครั้งได้ทุนเรียนต่างประเทศ จะใช้หูฟังเสียบเข้าที่ตู้เอทีเอ็มก็จะสามารถทำรายการทางการเงินได้ แต่ที่ประเทศไทยไม่มี จึงทำได้โดยการฝากให้คนตาดีทำธุรกรรมทางการเงินให้ในแต่ละช่องทาง

จริงๆ แล้ว คนตาบอด , ผู้มีสายตาเลือนราง , ผู้สูงอายุ ก็น่าที่จะใช้บริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่องทางบนสมาร์ทโฟน เป็นการใช้ได้เท่าๆ กับคนสายตาปกติ แต่เรื่องจริงก่อนปี 2559 ก็ยังไม่เกิด นับเป็นโจทย์ใหญ่ของธนาคาร และสตาร์ทอัพจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ จนกระทั่ง “บีคอน อินเตอร์เฟส” สตาร์ทอัพของ ธนาคารกสิกรไทยชนะเลิศการแข่งขันฟินเทคระดับโลกที่สิงคโปร์ พัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ผู้บกพร่องทางการเห็นทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟนได้

อภิรัตน์ หวานชะเอม Principle Visionary Architect จาก Kasikorn Labs และ ผศ.ดร.ชูจิต ตรีรัตนพันธ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ร่วมกันอธิบายเพิ่มเติม หลังจากได้รับรางวัลเมื่อปีที่แล้ว จนกระทั่งมาถึงเดือนนนี้ที่รับอาสาสมัครร่วมทดลองใช้งาน 300 คน

พื้นที่ของธนาคารกสิกรไทยวันนั้น จัดให้เป็น Kasikorn Labs เชิญผู้พิการทางสายตาแบบตาบอด จากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยมาทดสอบ ระหว่างการทดสอบการใช้ K PLUS Beacon ใช้การฟังเสียง ทำตามคำสั่งที่ต้องการเลื่อนซ้ายขวา บนล่าง เสียงดังฟังชัด โอนเงิน ถามยอด จ่ายเงิน ตัวใหญ่ ผู้ใช้เลือกระดับความเร็วของเสียงได้ หรือเลือกปิดเสียงแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ การใช้เวลาทำ รอบแรก 3 นาที รอบต่อไป 1 นาที และสุดท้ายไม่เกิน 1 นาที ว่ากันว่าคนตาบอด เมื่อได้เริ่มเรียนรู้แล้ว ความสามารถพิเศษคือเขาจะสร้าง Mind Map ไว้ได้เลย การใช้แอปฯ K PLUS Beacon ก็เช่นกัน

“การที่ธนาคารทำแอปฯ นี้ขึ้นมาเพื่อ Social Impact เป็น Social Contribution มากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ และต้องการให้คนใช้เร็วที่สุด จริงๆ อยากให้ธนาคารอื่นในไทยเอาไปใช้ด้วย เพราะเราไม่ต้องการให้อยู่ในกสิกรไทยอย่างเดียว เป้าหมายเรื่องนี้คือ การสนับสนุนให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งการจะให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ก็ต่อเมื่อทุกธนาคารพยายามทำเรื่องนี้”

อภิรัตน์ กล่าวถึงช่วงเวที่ผ่านมาว่า ดีใจมากที่มาถึงวันนี้ เพราะนับตั้งแต่วันที่ชนะ คิดว่าคือจุดเริ่มต้น ที่คนหันมาฟัง แต่ก็ต้องการให้ใช้จริง วันนี้เข้าใกล้ความฝันขึ้นมาอีกขั้นแล้ว

อีกทั้งความฝันต่อไปคือ ต้องการนำจุดเด่นของ บีคอน อินเตอร์เฟส ไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้บกพร่องทางการเห็นจำเป็นต้องใช้ เช่น ไมโครเวฟ ลิฟต์ เป็นต้น R&Dไว้แล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพราะทีมนี้ใช้เวลาปีกว่าๆ ทำเรื่องนี้เรื่องเดียว จึงมีอินไซด์เยอะมาก ไม่ใช่เรื่องการเงินอย่างเดียว บนสมาร์ทโฟนมีแอปฯ ทุกชนิด และยังประยุกต์ได้กับจอสัมผัสทุกชนิดที่ไม่ใช่เฉพาะจอสมาร์ทโฟนเท่านั้น แม้กระทั่งรถยนต์ในอนาคต ทีมีเนวิเกเตอร์ ใช้หลักการนี้ได้โดยไม่ต้องมองที่หน้าจอ

อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปต้องตอบโจทย์ผู้มาทดสอบใน Lap ก่อน เพราะสิ่งที่ต้องการให้มีใน K PLUS Beacon เรื่องการลงทุนในกองทุน ซึ่งจะต้องทำงานกับบลจ.กสิกรไทย เพื่อเป็นอีกบริการหนึ่งของ K PLUS Beacon และเร็วๆ นี้ จะนำ K PLUS Beacon รวมไว้ใน K-Mobile Banking

 

 

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม